"พิจารณาลงสู่อนิจจังให้เห็นพร้อมกับลมออก-เข้าต่อไป ก็แปลว่ามีวิปัสสนาควบกับสมถะด้วยวิปัสสนา
ก็คือปัญญานั่นเอง"
การที่เราภาวนาลมละเอียดเข้าไป แต่ได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่ได้ทิ้งกรรมฐานเดิม คือลมหายใจเข้าออกก็รู้ชัด พร้อมกันกับเสียงที่มากระทบอันนั้นเป็นอุปจารสมาธิ เมื่อละเอียดเข้าไปเบาเข้าไป อันนั้นละเอียดกว่าอุปจารสมาธิอีก จิตในชั้นนี้ก็เป็นสมาธิแล้ว แต่ไม่ให้ทิ้งกรรมฐานเดิมคือลมออก-เข้า ละเอียดลงไปขนาดไหนก็ไม่ทิ้ง จนวูบลงหรือวับลงไปไม่ปรากฏลมเสียเลย แล้วก็มีแต่ผู้รู้เบาหวิวอยู่อันนั้นเรียกว่า “ปฐมฌาน” (อัปนาสมาธิ)
แต่เมื่อหมดกำลังก็ถอนออกมา เมื่อถอนออกมาก็เห็นลมออก-เข้า เบาๆ อยู่ ถ้าปล่อยจิตฟุ้งซ่านไปทางอื่นก็เป็นเรื่องกรรมฐานแตกไป แต่ถ้าทวนดูว่า เอ๊ะ..... จิตขนาดนี้ก็ยังถอนออกมาอยู่แล้ว
พิจารณาลงสู่อนิจจังให้เห็นพร้อมกับลมออก-เข้าต่อไป ก็แปลว่ามีวิปัสสนาควบกับสมถะด้วยวิปัสสนา
ก็คือปัญญานั่นเองเพราะเห็นอนิจจังควบกับลมหายใจเข้าออก เมื่อเห็นอนิจจังชัดแล้วจะเห็นทุกข์สัมปยุตกันอยู่อย่างละเอียดจะเห็นสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา สัมปยุตกันอยู่อย่างละเอียดอีก
คล้ายๆ กับเชือกสามเกลียว ซึ่งกลมกลืนกันอยู่ไม่มีอันใดก่อนอันใดหลังพร้อมกับลมออก-เข้าด้วย อันนี้เรียกว่าสติสัมปชัญญะแก่กล้าในไตรลักษณญาณคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลมกลืนกันอยู่นั่นเอง
ก็ต้องพิจารณาอยู่อย่างนั้นติดต่อกันอยู่เสมอ
เมื่อถอนออกมาก็จับเข้าไปในที่นั้นให้จนได้เพราะรู้รสชาติมันแล้ว รู้ลูกไม้ของมันอีกด้วย รู้วิธีจะเข้าไปจับมันอีกด้วย
ยกอุทาหรณ์เช่น
ลมหายใจเข้าครั้งหนึ่ง ก็เห็นทั้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลมกลืนกันอยู่ด้วย ไม่ใช่อยู่คนละเป้า ไม่ใช่อยู่คนละขณะอีกด้วย เมื่อเห็นชัดอยู่อย่างนั้นแล้วกิเลสทั้งปวงที่เคยยึดมั่นว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน ก็สลายไปในตัวอยู่ ณ ที่นั้นเอง ทางนี้เป็นทางพ้นทุกข์ง่ายดีกว่าจะเอานิมิตต่างๆ
ไปอวดกัน
คำว่า นิมิตก็แปลว่า “เครื่องหมาย”
หมายในรูปก็เรียกรูปนิมิต หมายในนามก็เรียกว่านามนิมิต รูปก็ดี นามก็ดีเป็นเมืองขึ้นของอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา อยู่ในปัจจุบันนั้นแล้ว ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่มีท่านผู้ใดจะพ้นความสงสัยของตนไปได้
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
โยมถาม : การกำหนดเวลานั่งภาวนาให้สติตามดูจิตเท่านั้น หรือว่าต้องทำอย่างไรครับ?
หลวงปู่หล้าตอบ : เราต้องดูนิสัยของเราก่อน
นิสัยของเราเป็นคนมักลืมหลงหรือยังไง
ถ้านิสัยของเราเป็นคนมักลืมๆ หลงๆ เราก็ต้องเจริญอานาปานสติ ลมหายใจเข้า-ออก
ถ้าหากว่านิสัยของเราชอบโกรธง่าย อะไรๆ ก็ต้องโกรธง่าย เราก็ต้องแผ่เมตตาตนเสียก่อน
ตนไม่ชอบทุกข์ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่ชอบทุกข์ แผ่เมตตาตน อะหัง สุขิโต โหมิ นั่น ขอเราจงเป็นสุข อย่ามีเวรมีภัยกับสิ่งอันใดในไตรโลกธาตุ
ทุกข์ก็เหมือนกัน อะไรก็เหมือนกัน เราไม่ชอบ
เอาตนเป็นพยานแล้ว ก็แผ่เมตตาไป ทั่วทุกหนทุกแห่งบอกว่า…สัตว์ทั้งหลาย คำว่า ทุกข์ๆ ไม่ชอบ
คำว่าสุขๆ ได้ยินว่าสุขๆ ก็ต้องชอบ
มนุษย์ทั้งหลาย คำว่าทุกข์ๆ ถึงจะไม่รู้ทุกข์ก็ตาม
ถึงจะไม่รู้ว่า เหตุเกิดทุกข์เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ตาม…แต่ก็ชอบสุข เราจึงแผ่เมตตาไป ถ้าเราไม่แผ่เมตตาเอาตนเป็นพยานก่อน มันก็เป็นพายเรือโต้น้ำ…มันไม่ค่อยอยากไป…ไม่สนิท
ถ้าหากว่าจิตใจของเรารักสวยรักงามเป็นเจ้าของหัวใจ มองไปทางไหนๆ ก็ชอบแต่จะรัก ในรูปในโฉมของเพศตรงข้าม ได้ระวังอยู่เสมอๆ
อันนี้เราก็ต้องพิจารณาอสุภะ…จะหนีไม่ได้
ในสกลกายของเราที่ไหนมันสกปรกโสมม เราก็ต้องพิจารณาอันนั้นมากกว่าเพื่อน สิ่งอื่นที่ไม่เห็น มันก็เห็นไปเอง ถ้าเห็นอันหนึ่งเป็นปฏิกูลชัดในสกลกายนี่ สิ่งอื่นๆ มันก็เสมอภาคกันไปหมด
หรือจะพิจารณาแต่ผมลงมาหาฝ่าเท้า จะพิจารณาแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปหาผมปลายผม ดูลักษณะของมัน
มันอยู่ยังไง มันมีกลิ่นยังไง
พระอาทิตย์หรือพระจันทร์ก็ตามเราอย่าไปมุ่งมั่น
ถ้าเรามุ่ง มันไม่ถูก เพราะกรรมฐานก็เคลื่อนไป
นิมิตทั้งหลายนี่ สำหรับอาตมาไม่สงสัยเพราะผ่านมาแล้วแต่ ๒๔๘๘บางทีเหาะเหินเดินอากาศ บางทีตีลังกาบนอากาศ ปลิ้นคว่ำ ปลิ้นหงาย บางทีก็เหาะไปในทางนอนทะลุภูเขาเลย บางทีก็เดินจงกรมในทางอากาศ บางทีก็ขัดสมาธิไปเรื่องเหล่านี้มันเป็นอุปจารสมาธิ หมดกำลังก็ถอนออกมาเท่านั้น
ที่หมดกำลังถอนออกมาคืออะไร?
ก็คืออนิจจังนั่นเอง…นั่น
สมาธิถึงขนาดนั้นแล้ว ก็ยังอยู่ใต้อำนาจ อนิจจัง
เหตุฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงไม่สอนให้ติดอยู่ ถ้าติดอยู่ในเพียงสมาธิเพียงแค่นั้น
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น