24 สิงหาคม 2563

เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง


นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและ
ได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์
เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ 
ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติ
ตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเรา
เป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ตามแบบคิด
แบบเข้าใจเอาเอง

สังโยชน์ ๑๐

สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จม
อยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑.สักกายทิฏฐิ
มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา 
สังขาร วิญญาณ นี้ เป็นเรา เป็นของเรา 
เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา

๒.วิจิกิจฉา
สงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา

๓.สีลัพพตปรามาส
ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตามๆเขาไปอย่างนั้นเอง

สามข้อนี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็น
พระโสดากับพระสกิทาคามี

๔.กามราคะ
ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น 
รส และอาการถูกต้องสัมผัส

๕.ปฏิฆะ
ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็น
โทสะแบบเบาๆ

ข้อ ๑ ถึง ๕ นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี

๖.รูปราคะ
พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือรูปฌาน

๗.รูปราคะ
พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือในอรูปฌาน

๘.อุทธัจจะ
อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง

๙.มานะ
ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา 
เราเสมอเขา

๑๐.อวิชชา
ความโง่ คือ หลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดี
ในกามคุณ ๕ ที่ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรม
ฝ่ายทรามที่ท่านเรียกว่า อวิชชา

สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว 
จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่
กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...