29 สิงหาคม 2563

กรรมที่ทำให้ได้รับผลเป็นความไม่ตกต่ำ

*****************************
วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง คือ
ผลวิบากแห่งทาน การให้ ๑,
แห่ง ทมะ การบีบบังคับใจ ๑,
แห่งสัญญมะ การสำรวมระวัง ๑,
ภิกษุ ท. ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา
นับได้ ๓๖ ครั้ง
เราได้เคยเป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วยแก้ว
เจ็ดประการ นับด้วยร้อยๆ ครั้ง,
ทำไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.
******************************
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
ภิกษุ ท. ! แต่ชาติที่แล้วมาแต่อดีต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์.

ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดใน
อาภัสสรพรหม.

ในระหว่างกาลอันเป็นวิวัฏฏกัปป์นั้นเราก็ได้อยู่พรหมวิมาน
อันว่างเปล่าแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็นพรหมได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด.

ภิกษุ ท. ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา
นับได้ ๓๖ ครั้ง
เราได้เคยเป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วยแก้ว
เจ็ดประการ นับด้วยร้อยๆ ครั้ง,
ทำไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.

ภิกษุ ท. ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ
ที่ทำให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้
มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้, วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ
ผลวิบากแห่งทาน การให้ ๑,
แห่ง ทมะ การบีบบังคับใจ ๑,
แห่งสัญญมะ การสำรวมระวัง ๑, ดังนี้.

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...