"หลวงพ่อโฉม" ท่านเป็นอดีตพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าแห่งเมืองสี่แคว ร่วมสมัยเดียวกันกับ (หลวงพ่อทอง วัดเขากบ), (หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง), (หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล) ฯลฯ
ตามประวัติเดิม ท่านเกิดปีพ.ศ.๒๓๗๘ ช่วงสมัยรัชกาลที่๓ น่าเสียดายที่คนสมัยนั้น ไม่ได้จดบันทึกประวัติท่านไว้มาก รู้เพียงว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่า เป็นสหายธรรมกับ (หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) และ (หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน) แต่ท่านแก่กว่าหลวงปู่ศุข แต่อ่อนกว่าหลวงพ่อเงิน
หลวงพ่อโฉม ท่านเป็นพระบ้านนอก เก่งแบบเงียบเชียบ คนทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ แต่จะปิดบังผู้ทรงฌาณสมาบัติไม่ได้ ท่านทรงคุณธรรมทั้งทางด้านคันถธุระ และวิปัสนาธุระทั้งยังเรืองอาคม อักขระวิธี ปลุกเสกเลขยันต์ได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ถึงขนาด (หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ) และ (หลวงพ่อใย วัดระนาม) ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน สันนิษฐานกันว่า ท่านได้สอนลูกศิษย์ ๒ รูปนี้ ถึงขนาดหมดไส้หมดพุงกันเลยทีเดียว
ในปีพ.ศ.๒๔๕๓ (หลวงพ่อเดิม) ได้มีฎีกานิมนต์ใน "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" (เจริญ อิศรางกูล ณ อยุธยา)ให้ร่วมปลุกเสกพระวัดระฆังหลังค้อน หลวงพ่อเดิม ท่านเป็นหนึ่งใน ๖๐ รูป ที่โดนฎีกา ขณะนั้นหลวงพ่อเดิมบวชได้ ๒๕ พรรษา แสดงถึงความเชี่ยวชาญและแตกฉาน ในด้านวิชาอาคม จึงได้รับความไว้วางใจจากเบื้องบนจึงมีคำสั่งมา ซึ่งในชุด ๖๐รูปนี้ แต่ละองค์นั้นหนาวเย็นยะเยือกทั้งนั้น
ส่วน (หลวงพ่อใย วัดระนาม) นั้น ท่านก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดตั้งแต่ยังหนุ่ม เป็นเจ้าอาวาสวัดระนามได้เพียงพรรษาที่ ๓ เท่านั้น ในสมัยนั้น (พระภูธร) นั้น ท่านไม่ได้ได้ตำแหน่งเพราะเก่งปริยัติธรรมเท่านั้น ท่านได้เพราะ ท่านทรงคุณธรรมพิเศษ มีความดีมาก เป็นที่เคารพอย่างกว้างขวาง และเป็นที่ยำเกรงบารมี ของสงฆ์ด้วยกัน รู้ถึงพระกรรจ์ ในหลวงจึงโปรดเกล้าแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง "หลวงพ่อใย" ก็เป็นหนึ่งในนั้น
เมื่อรู้ความดีลูกศิษ์ทั้ง ๒ ถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องสัมพันธ์ถึงอาจารย์ ลูกศิษย์จะดีไม่ได้ถ้าอาจารย์ไม่ดีเสียก่อน เพื่อเป็นการยกย่อง และระลึกถึงบุญคุณครูอาจารย์ยุคก่อน ซึ่งนับวันประวัติจะลางเลือนไปทุกที ไม่มีที่มาไม่มีผู้จดบันทึก น่าเสียดายหากประวัติเหล่านี้ได้หายไปในยุคปัจจุบัน
"หลวงพ่อโฉม" ท่านมีเหรียญที่สร้างเป็นที่ระลึกในงานหล่อรูปเหมือนท่านในปีพ.ศ.๒๔๕๘ เหรียญของท่านนั้นมีคนรู้จักน้อย หายาก ไม่มีเปลี่ยนมือในตลาดกันง่ายๆ ของไม่มีหมุนเวียน ราคาจึงไม่หวือหวาเหมือนเหรียญยุคปัจจุบัน เหรียญนี้สร้างในคราวฉลองอายุ ๘๐ปีของท่าน ในสมัยพ.ศ.๒๔๕๘ ถ้าไม่มีเจ้านายหรือคหบดีหรือเศรษฐี ไม่สามารถสร้างเหรียญได้ง่ายๆ จะต้องมีคนเคารพศรัทธาท่านมากๆด้วย จึงเป็นทุนรอนในการสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นมาได้ เพราะต้องปั๊มในพระนครเท่านั้น ตอนนั้น อ.ตาคลี อยู่ตรงไหนยังไม่มีใครรู้เลย ท่านต้องเก่งขนาดหนักเลยในยุคนั้น และเหรียญรุ่นนี้เอง ก็เป็นเหรียญปั๊มยุคแรกๆ ของประเทศไทยเลยก็ว่าได้
อีกทั้งยังมีรูปหล่อโบราณหลวงพ่อโฉม อีกหนึ่งพิมพ์ สร้างหลังปี ๒๔๗๕ รุ่นแรก ลักษณะเนื้อจะเป็นทองผสม ผิวพรายเงิน การแกะพิมพ์ที่เป็นเอกลักษ์ ชาวบ้านมักเรียกว่า (รูปหล่อหน้าลิง) สูงประมาณ ๒.๘ เซนต์ ฐานกว้างประมาณ ๑.๕ เซนต์
ถ้าจะกล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ก็คงจะบรรยายได้ไม่รู้จบ แต่ถ้าจะยกตัวอย่างให้ทราบไว้ก็คือ แม้แต่ (หลวงพ่อโอด วัดจันเสน) ก็ยังได้อาราธนาพระรูปหล่อรุ่นแรกนี้ติดย่ามไปกับท่านด้วยเสมอ
(พระอาจาร์ยลี) เจ้าอาวาสวัดตาคลีใหญ่ ได้มอบ (พระหล่อโบราณหลวงพ่อโฉม) นี้ ให้แก่หลวงพ่อโอด "หลวงพ่อโอด" ท่านได้เอ่ยกับท่านอาจาร์ยลีว่า "พระชุดนี้ดีมากนะ "
หลังจากนั้นพระชุดนี้ก็มีอยู่ในย่ามหลวงพ่อโอดตลอด แม้ขณะที่หลวงพ่อโอดท่านละสังขาร ภายในย่ามของท่านก็ยังมีพระรุ่นนี้ ติดอยู่ในย่ามของท่านเสมอเลย
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ของหลวงพ่อโอด @
นัท ปราสาทขอม
ขอบคุณที่มา
http://www.baanjompra.com/webboard/thread-9060-1-1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น