"พระพุทธเจ้าถึงต้องบัญญัติไว้ว่า พระบวชใหม่ต้องอยู่ศึกษากับครูบาอาจารย์อย่างน้อย ๕ พรรษาก่อน ถ้าพระอุปัชฌาย์ไม่มีเวลา หรือความสามารถที่จะสั่งสอนได้ ก็ต้องมอบหมายให้พระอุปัชฌาย์รูปใดรูปหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการดูแลสั่งสอนอบรม
อย่างเราพอบวชก็บวชที่วัดบวรฯ บวชกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช บวชได้ ๖ สัปดาห์ก็ขออนุญาตไปศึกษากับหลวงตามหาบัว ท่านก็อนุญาต แต่ต้องบอกก่อนว่าจะไปอยู่กับใคร ไม่ใช่ว่า จะขอไปแสวงหาตามประสีประสา อย่างนี้ไปไม่ได้ เดี๋ยวไปอยู่กับใครก็ไม่รู้ เกิดไปอยู่กับอาจารย์ที่คิดผิด มีมิจฉาทิฏฐิ เดี๋ยวจะสอนให้เห็นผิด ทำให้เป็นภัยอันตรายกับตนเองต่อไปได้
พระอุปัชฌาย์ ถ้าท่านไม่รู้จักกับครูบาอาจารย์ที่เราจะไปขออยู่ด้วย ท่านก็จะไม่ให้ไป"
..........................................................................
"ความเข้าใจเรื่อง ๕ พรรษาของพระบวชใหม่"
คำถาม : พระบวชใหม่ต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ๕ พรรษา หมายความว่า ๕ พรรษานี้ ไม่สามารถไปจำพรรษากับอุปัชฌาย์ท่านอื่นได้ใช่ไหมครับ ?
คำตอบ:พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ถ้าอุปัชฌาย์ท่านอนุญาตก็ไปได้ ถ้าท่านเห็นว่ามีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถเท่ากับ หรือดีกว่าท่าน แต่ต้องอยู่ครูบาอาจารย์รูปใดรูปหนึ่ง เหมือนเด็กที่พึ่งคลอดมาจะต้องมีพี่เลี้ยง ถ้าไม่มีพ่อแม่ต้องผู้อุปถัมภ์ผู้อื่นมาเลี้ยงดู มาสั่งสอนให้รู้จักวิธีการดำรงชีวิตต่างๆ ให้ถูกต้อง เพราะผู้ที่มาบวชใหม่ไม่เป็นพระทันที เพียงแต่เป็นผู้ห่มเหลือง โกนศรีษะเท่านั้นเอง แต่ความรู้สึกนึกคิดนี้ยังเป็นฆราวาส ๑๐๐% ถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียว ทำไปตามความรู้สึกนึกคิดก็จะเป็นไปแบบฆราวาส แล้วก็จะเกิดผลเสียหายตามมาต่อไป อย่างที่เราเห็นอยู่เรื่อยๆ บรรดาพระที่ไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ แล้วไปตั้งสำนักเป็นเจ้าสำนักเอง อยู่ไปแล้วก็ไปปฏิบัติผิดธรม ผิดวินัย จนในที่สุดก็กลับมาเป็นพิษภัยเป็นโทษกับตนเอง ก็เพราะว่าไม่ได้อยู่ศึกษากับครูบาอาจารย์ ที่ท่านรู้จักวิธีการดำรงชีวิตของนักบวชนั่นเอง
พระพุทธเจ้าถึงต้องบัญญัติไว้ว่า พระบวชใหม่ต้องอยู่ศึกษากับครูบาอาจารย์อย่างน้อย ๕ พรรษาก่อน ถ้าพระอุปัชฌาย์ไม่มีเวลา หรือความสามารถที่จะสั่งสอนได้ ก็ต้องมอบหมายให้พระอุปัชฌาย์รูปใดรูปหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการดูแลสั่งสอนอบรม
อย่างเราพอบวชก็บวชที่วัดบวรฯ บวชกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช บวชได้ ๖ สัปดาห์ก็ขออนุญาตไปศึกษากับหลวงตามหาบัว ท่านก็อนุญาต แต่ต้องบอกก่อนว่าจะไปอยู่กับใคร ไม่ใช่ว่า จะขอไปแสวงหาตามประสีประสา อย่างนี้ไปไม่ได้ เดี๋ยวไปอยู่กับใครก็ไม่รู้ เกิดไปอยู่กับอาจารย์ที่คิดผิด มีมิจฉาทิฏฐิ เดี๋ยวจะสอนให้เห็นผิด ทำให้เป็นภัยอันตรายกับตนเองต่อไปได้
พระอุปัชฌาย์ ถ้าท่านไม่รู้จักกับครูบาอาจารย์ที่เราจะไปขออยู่ด้วย ท่านก็จะไม่ให้ไป อย่างตอนต้นเราก็ไปติดต่อกับพ่อครูบัวเกตุ (หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร) ที่วัดช่องลม เพราะใกล้บ้าน ไปปรึกษากับท่านว่าอยากจะบวช แต่อยากจะบวชเพื่อปฏิบัติ ท่านก็บอกว่า ถ้าบวชกับท่านก็ต้องอยู่กับท่าน ๕ พรรษา แต่วัดของท่านไม่ใช่วัดปฏิบัติ เป็นวัดสวด มีเมรุ มีการฉันเพล ถ้าอยากบวชแล้วปฏิบัติต้องไปที่วัดบวรฯ กับสมเด็จพระญาณสังวร ท่านเมตตารับบวชเพราะมีชาวต่างประเทศที่ไปบวชที่วัดบวรฯ จากนั้นก็ขออนุญาตท่านไปศึกษากับครูบาอาจารย์ที่เป็นสายหลวงปู่มั่น ทางภาคอีสาน สมัยนั้นก็หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ดังทั้งหลาย หลวงตามหาบัว หลวงปู่ชา เราเลยต้องไปวัดบวรฯ ได้บวชที่นั่น หลังจากห่มจีวรเป็น บิณฑบาตรเป็น ดูแลอัฐบริขารเป็น ก็ขออนุญาตท่านไปศึกษาอยู่กับหลวงตามหาบัว ไปแล้วก็ไม่เคยกลับมาหาท่านเลย
จนมาอยู่ที่วัดญาณฯ ถึงมาพบท่าน ท่านก็จำไม่ได้ ท่านก็ถามว่าใครบวชให้ พอดีพระเลขาที่อยู่ใกล้พระองค์ท่าน ท่านจำเราได้ เพราะท่านเป็นพี่เลี้ยงตอนที่เราบวช ท่านก็บอกว่า พระองค์ท่าน
ดังนั้น ต้องมีครูบาอาจารย์ เหมือนเด็กเกิดใหม่แหล่ะ ไม่มีพ่อแม่จะสั่งสอนอบรมเดี๋ยวก็ทำอะไรไม่ประสีประสา ก็เกิดพิษภัยเป็นอันตรายกับตัวเอง แต่พระสมัยนี้ทั้งอุปัชฌาย์และผู้บวชก็ไม่สนใจเรื่องนี้ บวชเสร็จก็จบแล้ว ตัวใครตัวมัน สมัยนี้ถึงมีคำที่เขาเรียกว่า อุปัชฌาย์เป็ด เป็ดไม่ฟักไข่ พอไข่ออกมาก็ทิ้งเลย บวชเสร็จก็แยกจากกัน ไม่อบรมสั่งสอน ไม่ว่ากล่าวตักเตือน.
[กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]
กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้นที่ชื่อว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ได้แก่เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้นและมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง.
จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่าสรรพสัตว์กระทั่งถึงชาวบ้านในโคจรคามนั้น.
แท้จริง ภิกษุนั้นทำพวกชนผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะมีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลายผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตาในอิรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตาในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูกอะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์.
อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควรเสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.
เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้นของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่าสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่าเป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือพึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐานแห่งการหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน.
ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้.
ส่วนความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่าด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]
อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี, เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา.
จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น