นับเป็นเวลาที่ค่อนข้างยาวนานทีเดียวกว่าที่คําพูดที่หลวงปู่ดู่เคย พูดสอนว่าในเวลาปฏิบัติสมาธิภาวนา ให้ปฏิบัติแบบโง่ๆ นั้น จะค่อยๆ กระจ่างชัดขึ้นเรื่อยๆ การอ่านมากรู้มากบางครั้งก็เป็นดาบสองคมเพราะในด้านหนึ่ง
การู้มากอาจช่วยให้สามารถมองเห็นเส้นทางเดินรวมทั้งเห็นสิ่งที่ต้อง ระมัดระวังล่วงหน้าฯลฯ แต่อีกด้านหนึ่งการรู้มากก็จะมาเป็นตัวอุปสรรคเสียเองเช่นเผลอ คิดว่าความรู้(รู้จํา)นั้นเป็นปัญญา(รู้จริง)เกิดเป็นทิฏฐิมานะปิดกั้นการ
ดูดซับความรู้จากภายนอกนอกจากนี้ยังอาจเป็นอุปสรรคในขณะปฏิบัติ จิตภาวนานั้น เพราะการรู้มากนี้ก็กลายเป็นสิ่งรุงรังในจิตใจ ใช้ความคิด ผิดกาลเทศะจนกลายเป็นนิวรณ์ขัดขวางไม่ให้จิตรวมเป็นสมาธิคิดไปล่วง
หน้าตามประสาคนรู้มากบ้างคอยใส่ชื่อเรียกให้กับสภาวะต่างๆที่กําลัง ประสบบ้างคอยสงสัยนั่นนี่บ้าง การรับรู้หรือสัมผัสจึงไม่เป็นไปอย่างตรงไปตรงมาแล้วเจ้าตัวก็ยัง
สําคัญตัวว่ากําลังคิดพิจารณาหรือมองดูสภาวะต่างๆ ตามความเป็นจริง ทั้งๆที่ของจริง“นิ่งเป็นใบ้”พอจิตเข้าไปปรุงแต่งจนรุงรังไปหมดแล้วจึง ยากที่จะถอยออกมาให้เห็นไปตามสภาวะที่มันเป็นอย่างธรรมชาติ หากแต่เป็นไปอย่างที่จิตเราอยากให้มันเป็น จึงมาตระหนักว่า
“การปฏิบัติแบบโง่ๆ” ที่หลวงปู่ท่านสอนนี้
สําคัญมากและจะต้องวางความรู้ต่างๆไว้ข้างนอกเสียกระทั่งเพิกสัญญา ความมั่นหมายว่าเราว่าเขา ว่านั่นว่านี่ออกเสีย แล้วรู้สิ่งที่มากระทบใจ ไปตามสภาวะที่มันเป็น
นี่แหละหนาหลวงปู่ดู่ถึงว่า
“สอนคนรู้มากนั้นสอนยากสู้สอนเด็กๆหรือคนรู้น้อยไม่ได้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น