คือ เนื้อนาบุญ บุคคล 8 ประเภท ในบทสวด สุปฏิปัณโณ
1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือ มรรคจิตเกิดครั้งแรก เรียกว่า”โสดาปัตติมรรคจิต” เป็นอริยบุคคลขั้นแรก **เป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพานแล้ว จะทำลายสัญโยชน์
- สักกายทิฏฐิ
- วิจิกิจฉา
- สีลพตปรามาส
รวมทั้งความเบาบางของ ความโลภ) ความโกรธ, ขัดเคืองใจ, กังวลใจ, เครียด, กลัว ความหลง ในขั้นหยาบ **จึงไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก)
2.) โสดาปัตติผลบุคคล เรียก “โสดาบัน” ผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว
จึงมีคุณสมบัติที่ ของพระโสดาบัน
- พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้
- อีกไม่เกิน 7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
- มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย
- มีศีล 5 บริบูรณ์ เกิดจากจิตใจจริง ๆ ไม่ใช่ การข่มใจ ..
3.) สกทาคามีมรรคบุคคล คือบุคคล ที่ มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 รียก”สกทาคามีมรรคจิต” มรรคจิตในขั้นนี้ ทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่านั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ
4.) สกทาคามีผลบุคคล คือ ผู้ที่ผ่านสกทาคามีมรรคมาแล้ว
มีคุณสมบัติ ดังนี้ ถ้า จะกลับมาเกิดในกามภูมิ เกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น..ไม่ลงอบายภูมิ และจะเกิด เพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้น
5.) อนาคามีมรรคบุคคล คือ มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เรียกว่า.”อนาคามีมรรคจิต “ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ
- กามฉันทะ - ปฏิฆะ
6.) อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว
มีคุณสมบัติ ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภู(มนุษย์ สวรรค์) แต่จะไปเกิดใน รูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น(พรหม+อรูปพรหม) เรียกว่า”สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้น –( อวิหาภูมิ- อตัปปาภูมิ- สุทัสสาภูมิ- สุทัสสีภูมิ- อกนิฏฐาภูมิ)
7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือ มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 เรียกว่า”อรหัตตมรรคจิต” ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มีกิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป ได้แก่- รูปราคะ- อรูปราคะ- มานะ- อุทธัจจะ- อวิชชา
8.) อรหัตตผลบุคคล หรือ พระอรหันต์ คือ ผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง ด้วยกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิต **จึง เป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย ..แต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป ..จนกว่าจะปรินิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น