11 มกราคม 2564

วิธีการอบรมสมาธิมีหลายอย่าง

วิธีการควบคุมจิตมีหลายอย่างที่เรียกว่าอบรมกรรมฐาน คือ อบรมจิตนั่นเอง พุทธศาสนาทั้งหมด
ที่อบรมล้วนแต่กรรมฐานทั้งนั้น

#ต่างแต่ว่าคณาจารย์ใดชำนิชำนาญทางไหน
#ก็อบรมทางนั้น

 #ผลที่สุดก็คือควบคุมจิตของตนให้อยู่ในบังคับนั้นเอง

#บางคนก็ยุบหนอพองหนอ บางคนก็ #สัมมาอรหัง บางคนก็อานาปานสติ ตามอุบายของตนที่ถนัด แต่เมื่อควบคุมถึงจิตแล้วคำบริกรรมนั้นหายหมด ยังเหลือแต่จิตอันเดียวที่เรียกว่า สมาธิ หรือเอกจิต สมาธิแปลว่าจิตเป็นหนึ่ง ถ้าหากจับตัวนี้ได้แล้ว ไม่ต้องไปวุ่นกับเรื่องคำบริกรรมอีก คุมจิตให้เป็นหนึ่งลงไปเถอะหมดเรื่องกัน เดี๋ยวนี้จับจิตไม่อยู่เรา จึงต้องใช้คำบริกรรม เช่น #พุทโธ ๆ ให้มันอยู่กับคำบริกรรมนั้น คำบริกรรมเป็นเครื่องล่อให้จิตมาอยู่ ที่นั่น ให้จิตมันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วคำบริกรรม นั้นก็จะลืมไปเอง ถึงไม่ลืมมันก็ให้ทิ้งได้ บางคนเข้าใจว่าลืมคำบริกรรม ๆ หายไปแล้วตั้งต้นบริกรรม อีก อันนั้นใช้ไม่ได้ คำบริกรรมต้องการให้จิตรวมเข้าเป็นหนึ่งนั้นเอง เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งแล้วจะไป พัวพันอะไรกับคำบริกรรมนั้นอีก ถ้าไปบริกรรมอีก จิตมันก็ถอนละซี

วิธีการอบรมสมาธิมีหลายอย่าง ไปคบค้าสมาคมกับครูบาอาจารย์หลายท่านหลายองค์ องค์ นั้นว่าอย่างนั้น องค์นี้ว่าอย่างนี้ ก็เลยลังเลสงสัยไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาเป็นหลัก ท่านชำนาญทาง ไหนท่านก็สอนไปตามเรื่องของท่าน ผลที่สุดก็รวมเป็นอันเดียวกัน คือรวมให้จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น การที่ จิตรวมเป็นหนึ่งนั่นแหละคือ สมถะ บางสำนักท่านเรียกว่า วิปัสสนา แต่สมถะยังไม่ทันเป็นจะเรียกว่า วิปัสสนาได้อย่างไร คงจะเป็นวิปัสสนึกหรอกไม่ใข่วิปัสสนา นึกไปคิดไปให้รูปนามเกิดดับเฉย ๆ นี่ แหละ ท่านผู้คิดเห็นอย่างนั้น ยังไม่ทันรู้จักเรื่องวิปัสสนาเสียด้วยซ้ำ วิปัสสนาจริงแล้วไม่ต้องคิด ต้องนึกไม่ต้องปรุงแต่ง มันเป็นเอง มันเกิดของมันต่างหาก

#เมื่อมันเกิดแล้วจะต้องชัดแจ้งประจักษ์ใน

#พระไตรลักษณญาณด้วยตัวของตนเองต่างหาก

เหตุนั้นจึงอย่าพากันสงสัย เมื่อหมดความสงสัยใน เวลากรรมฐานนั้น มักถึงความเป็นหนึ่ง หมดสงสัยในขั้นนั้น อันนั้นตอนหนึ่งต่างหาก เพราะไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง จึงหมดสงสัยในขั้นนั้น แต่ความสงสัยลึกกว่านั้นยังมีอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ขอ ให้หมดสงสัยไปในขั้นนั้นเสียก่อน ถึงวิปัสสนาก็ไม่หมดสงสัยเป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกัน

วิธีอบรมสมถะกรรมฐาน จะอบรมประการใดก็ตามได้ทั้งนั้น ขอแต่ให้จิตรวมเป็นหนึ่งแล้ว ใช้ได้ทั้งนั้น แต่ในที่นี้ให้พิจารณาอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์ เพราะลม หายใจเข้าหายใจออกเป็นเครื่องอยู่ของกาย ถ้าไม่มีลมแล้วคนเราก็ตาย คนเรากลัวตาย ถ้าพิจารณา ลมหายใจเข้าหายใจออกจริง ๆ จัง ๆ แล้ว เห็นความตายของตนเอง มันก็รีบทำสมาธิอย่างเขาว่าภาวนา กันตาย แต่ก็ยังดีกว่าที่จะไม่เห็นความตาย เพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา กลัวตายนี่แหละเป็นของสำคัญ มาก อะไรไม่สำคัญเท่ากลัวตายหรอก เหตุนั้นจึงให้

พิจารณาอานาปานสติ ลมหายใจเข้าไม่หายใจออก มันก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย

#ให้พิจารณาเห็นความตายทุกขณะทุกเวลาดังนี้

จิต มันก็จะสลดสังเวชในสังขารร่างกาย แล้วก็จะรวมลงไปเป็นอันหนึ่ง เป็นสมาธิภาวนา แต่จิตนั้นซีมัน ไม่ตาย จิตนี้มันตายไม่เป็นหรอก ไม่มีลมมันก็ไม่ตาย มันไม่อาศัยลมก็เกิดในที่ต่าง ๆ ได้ เกิดเป็น สิงสาราสัตว์ ไปเป็นเปรต อสุรกาย มนุษย์ เทพบุตร เทวดา ก็ไม่มีลมทั้งนั้น ไม่ได้ไปเกิดในที่นั้น ๆ เพราะลม ที่มันเกิดในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ มันจึงอาศัยลม

จิตไม่มีตัวมีตน จิตไม่มีลมเป็นของรู้สึกเฉย ๆ จิตกับใจมันต่างกัน จิตเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง แต่งสารพัดอย่าง สัญญาอารมณ์ร้อยแปดพันประการ ที่ท่านว่ากิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด มันก็ออก ไปจากจิตนี้เอง จิตก็ออกไปจากใจ จิตนั่นแหละพาไปเกิดในภพน้อยภพใหญ่ อยากเห็นจิตเห็นใจ ต่อ เมื่อจิตรวมเป็นสมาธิแน่วแน่เต็มที่แล้วเข้าถึงอัปปนาเมื่อไรเข้าถึงตัวใจเมื่อนั้น ถ้ายังไม่ถึงอัปปนา สมาธิ ก็จะเห็นแต่จิต จิตเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง และสัญญาอารมณ์ทั้งหมดเรียกว่าจิต จึงต้อง รักษาตรงนี้แหละ ควบคุมตรงนี้ไว้ให้ดี เมื่อสติไปควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจของตน ในบังคับของตน จนกระทั่งจะให้คิดก็ได้ ไม่ให้คิดก็ได้ ให้มันอยู่เฉย ๆ ก็ได้ จิตมันจะคิดหยาบหรือละเอียดก็รู้ตัวอยู่ เป็นบุญเป็นบาปอะไรก็รู้ตัว อันนั้นแหละเป็นตัวปัญญา แต่ไม่ใช่ปัญญาวิปัสสนา เป็นปัญญาสามัญนี่ แหละ เราควบคุมจิตให้ได้มันจึงจะเกิดปัญญา ใคร ๆ ก็พูดกันว่า ปัญญาเกิดจากสมาธิ แต่มันจะเกิด ขึ้นด้วยอาการอย่างไรย่อมไม่รู้ ไปเอาโน่นแน่ะ

#สมาธิที่ให้เกิดความรู้เห็นโน่น เห็นนี่ แปลก ๆ ต่าง ๆ เช่น #เห็นเทพ #เห็นภูตผี #ปีศาจต่าง ๆ โน่น เรียกว่าอภิญญา อภิญญาถ้าผู้ใดได้แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง ตื่นเต้นดีนัก #แต่ไม่เป็นไปเพื่อจะละความชั่ว

ส่วนปัญญาจริง ๆ แท้ ๆ นั้น ตัวนี้แหละตัวที่เราควบคุม จิตได้ให้อยู่ในบังคับของตัวเรา รู้เห็นต่าง ๆ สารพัดทุกอย่าง จะคิดก็ได้ไม่คิดก็ได้ ปรุงแต่งก็ได้ ไม่ปรุง แต่งก็ได้ อันนี้คือตัวปัญญาธรรมดานี่แหละ เห็นแจ้งประจักษ์ชัดด้วยกันทุก ๆ คน แล้วที่จะละได้ด้วย ถ้าหากผู้นั้นเห็นโทษด้วยตนจริง ๆ

#ส่วนปัญญาที่เราควบคุมไว้ได้ #มันอยู่ในขอบเขตของไตรลักษณ์ พิจารณาไปมันก็ลง ไตรลักษณ์ สิ่งทั้งปวงหมดอยู่ในขอบเขตของไตรลักษณ์ทั้งนั้น คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรม แล้ว คราวนี้ของในโลกทั้งหมดมันอยู่ในขอบเขตของไตรลักษณ์ ไม่หนีไปจากไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เบื้องค้นเราต้องพิจารณาให้เห็นในตัวของเรานี้เสียก่อน เราเกิดมาเป็นตนเป็นตัว ทำมาหากินทุก ๆ วัน เป็นทุกข์เพราะการหาไม่หยุด หาไปรับประทานไป หมดไปแล้วหาใหม่อีก จึงเป็นอนิจจัง เพราะหามาไม่ แล้วสักที ของเหล่านั้นมิใช่ของใครทั้งหมด เป็นแต่เก็บมาบำรุงร่างกาย แล้วก็สลายไปเป็นธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น มิใช่สัตว์บุคคลของใครทั้งสิ้น เหมือนกับเราเอาขี้ชันมายาเรือรั่วไว้ ฉะนั้น เรายา ไว้เพื่อจะได้ใช้ชั่วคราวเท่านั้น ความรอบรู้ตรงนี้แหละเรียกว่าปัญญา

#เมื่อควบคุมจิตได้แล้วมันจะรวมมาเป็นหนึ่ง เข้าถึงอัปปนาสมาธิ นิ่งแน่วลงสู่อันหนึ่ง คือ ใจ จิตกับใจมันต่างกันอย่างนี้ รักษาจิตควบคุมจิตได้แล้ว มันจึงค่อยรวมลงมาเป็นใจ ใจคือผู้ไม่คิด ไม่นึก มีความรู้สึกในตัวอยู่เฉย ๆ บางแห่งท่านก็เรียกว่า “ธาตุรู้”

การปฏิบัติศาสนา สรุปรวมความแล้วก็มาลงที่ธาตุรู้อันเดียว หมดเพียงแค่นั้น แต่ความรู้นั้น แตกต่างออกไปอีก มันพิสดารออกไปอีก ต่างคนต่างรู้ เมื่อลงถึงธาตุรู้แล้วก็หมดเรื่องภาระปฏิบัติ เพียงแค่นั้น ครั้นออกจากใจมาเป็นจิต #คราวนี้จิตมันควบคุมตัวของมันเองตลอดเวลา #ไม่ต้องตั้งใจควบคุม ไปไหนทำอะไรต่าง ๆ สารพัดทุกอย่าง มันควบคุมตัวของมันเอง #มันไม่หลงไม่ลืม #ไม่เผลอตัว คราวนี้ยิ่งมีความรู้กว้างขวางมาก มองเห็นสิ่งสารพัดทั่วไปหมดทั้งโลกลงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น

จะปฏิบัติอย่างไรต่อไปอีกละคราวนี้ ไม่เห็นได้ปฏิบัติอย่างไรอีก ขอให้เป็นอยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ไปก่อน นานแสนนานเป็น ปี ๆ ทีเดียว ที่ว่าปฏิบัติไปก็ไม่เห็นมีความรู้อะไรก้าวหน้านั้นแสดงว่า จิต เสื่อมหรือถอนแล้ว #นักปฏิบัติไม่ต้องทะเยอทะยานอยากให้เกิดความรู้ต่างๆถ้ามันเต็มขั้นเต็มภูมิ

#ของมันแล้ว #มันจะเกิดความรู้ของมันเอง

#การปฏิบัติเข้าถึงหลักของพระไตรลักษณ์ก็ดีอักโขแล้ว

 #จะเอาอะไรกันอีก

โดยมากปฏิบัติได้แต่ฟุ้งซ่านอยู่ในความวุ่นวายเหล่านี้แหละ แล้วก็เข้าใจว่าตนมีความ รู้ความสามารถ แท้ที่จริงเราเป็นทาษของโทสะ มานะ ทิฐิต่างหาก ไม่รู้กิเลสของตนเองเลย เอวํ.

#นั่งสมาธิ

(ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน)

ลองทำดูคราวนี้มันจะถูกไหม #ให้พิจารณาอานาปานสติกำหนดลมหายใจ เข้า ออก ดูที่ลม หายใจ เข้า ออก อยู่อย่างนั้นแหละ จนมันนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว #แล้วพึงกำหนดเอาแต่ผู้รู้ แต่ผู้เดียว #ลมพึงวางเสีย ไม่พึงกำหนดเอา #ก็จะเห็นจิตของตนชัดขึ้นมาว่า อ๋อ จิตมันอย่างนี้หนอ

 #สิ่งที่พิจารณานั้นอย่างหนึ่ง

#ผู้ไปพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง

#ให้หาตัวผู้ไปพิจารณาลมหายใจ อุปมาเหมือนอย่าง เรามองดูพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ เราไม่ได้มองดูผู้ดู ซึ่งเป็นตัวผู้รู้
#แต่เราไปมองดูพระอาทิตย์ พระจันทร์ จึงไม่เห็นตัวผู้รู้ ถ้าเราวางเสีย พระอาทิตย์พระจันทร์
#แล้วหันเข้ามามองผู้รู้แต่อย่างเดียว

#ก็จะเห็นตัวผู้รู้ทันที

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่พิจารณาลมหายใจ เข้า ออก จนรวมลงไปแน่วแน่เต็มที่แล้ว แต่ไม่มีอุบาย ที่จะพิจารณาอะไร พึงอยู่อย่างนั้น (อันนี้ว่า เฉพาะผู้ที่เป็นแล้ว) คำว่าใจในที่นี้ หมายถึงความเป็นกลาง กลางของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมด เรียกว่า กลาง ตัวกลางนั้นคือใจนี้เอง เมื่อจะชี้ถึงใจของคนแล้ว จะต้องชี้เข้าที่ท่ามกลางหน้าอกนี่เอง แท้จริงแล้วใจของคนไม่ได้อยู่ ณ ที่นั้น มันอยู่ได้ทั่วไปหมด นึกให้มันอยู่ที่ไหนได้ทั้งนั้น นึกให้มันอยู่ที่หัว ที่ท่ามกลางอก ที่แขน ที่ขา หรือที่ปลายเท้าก็ได้ สุดแท้ แต่เราจะนึกให้อยู่ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น ให้เข้าถึงใจ รู้จักใจ แล้วหากจะรู้จักจิต เพราะใจกับจิตมันอยู่ด้วย กัน ส่วนพิสดารต่อไปนั้นมันจะรู้ขึ้นมาเอง เอาละพอสมควรแล้ว.

หลวงปู่เทสก์​ เทสรังสี

"เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก​ ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ"

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๐๓๙-๔๐๘๕ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๓.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4039&Z=4085&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=289&items=1

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...