09 มกราคม 2564

อานาปานสติ ยังมรรคให้ประชุมลง

แม้กล่าว #ลมอัสสาสะ และ #ลมปัสสา ต่างหากกันว่า

อสฺสสติ หายใจเข้าบ้าง และ ปสฺสสติ หายใจออกบ้าง เพื่อแสดงความเป็นไปตามลำดับแห่งภาวนา ท่านจึงกล่าวย่ออีกว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง. 

               บทว่า ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ ฉันทะย่อมเกิด คือ #ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความยิ่งๆขึ้นไปแห่งความเจริญยิ่งของภาวนา. 
               บทว่า สุขุมตรํ ละเอียดกว่า ท่านกล่าวเพราะมีความสงบ. 
               บทว่า ปามุชฺชํ อุปปชฺชติ #ความปราโมทย์ย่อมเกิด คือ #ปีติย่อมเกิด เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา. 
               บทว่า อสฺสาสปสฺสาสาปิ จิตฺตํ วิวฏฺฏติ จิตย่อมหลีกออกจากลมอัสสาสะปัสสาสะ คือ #เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิด #เพราะอาศัยลมอัสสาสะปัสสาสะ จิตย่อมตั้ง

อยู่คือในปฏิภาคนิมิตนั้น #มัชฌัตตุเบกขาอันเป็นอุปจาระและอัปปนา ย่อมตั้งอยู่ #เพราะไม่มีความขวนขวายในการตั้งไว้ซึ่งการบรรลุสมาธิ. 
               บทว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่ อาการ ๙ อย่าง คืออาการ ๓ ท่านกล่าวว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง ก่อนแต่ฉันทะเกิด ตั้งแต่เริ่มภาวนา อาการ ๓ ก่อนความปราโมทย์เกิดตั้งแต่ฉันทะเกิด อาการ ๓ ตั้งแต่ความปราโมทย์เกิด. 
               บทว่า กาโย กาย #ชื่อว่ากาย เพราะประชุมลมอัสสาสะและปัสสาสะที่เป็นของละเอียดๆ ขึ้นไป. 

#แม้นิมิตที่เกิดเพราะอาศัยลมอัสสาสะปกติปัสสาสะปกติ #ก็ย่อมได้ชื่อว่าลมอัสสาสะปัสสาสะ. 

               บทว่า อุปฏฺฐานํ สติ #สติปรากฏ ชื่อว่าสติปรากฏ #เพราะสติกำหนดอารมณ์นั้นตั้งอยู่. 

               บทว่า อนุปสฺสนาญาณํ #สติเป็นอนุปัสสนาญาณ.
               ความว่า #กายานุปัสสนาเป็นนิมิตด้วยสามารถสมถะอนุปัสสนา คือ #นามกาย #รูปกาย

#เป็นญาณด้วยสามารถวิปัสสนา. 
               บทว่า กาโยอุปฏฺฐานํ กายปรากฏ คือชื่อว่าปรากฏ #เพราะกายมีสติเข้าไปตั้งอยู่. 
               บทว่า โน สติ ไม่ใช่สติ. ความว่า กายนั้นไม่ใช่สติ. 
               บทว่า ตาย สติยา คือ สติที่กล่าวแล้วในบัดนี้. 
               บทว่า เตน ญาเณน ด้วยญาณนั้น คือด้วยญาณที่กล่าวในบัดนี้เหมือนกัน. 
               บทว่า ตํ กายํ อนุปสฺสติ พิจารณาเห็นกายนั้น คือไปตามกายตามที่กล่าวด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนา แล้วเห็นด้วยญาณสัมปยุตด้วยฌาน หรือด้วยวิปัสสนาญาณ. แม้ในความไม่มีบทมี กาย เป็นต้น ในมาติกา ก็ควรกล่าวในบัดนี้เพราะจตุกะนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถกายานุปัสสนา ท่านชี้แจงบทแห่ง กาย หมายถึงคำว่า กาเย กายานุปสฺสนา สติปฏฺฐานภาวนา สติปัฏฐานภาวนา คือการพิจารณาเห็นภายในกาย. 
               บทว่า กาเย กายานุปสฺสนา คือ การพิจารณาเห็นกายนั้นๆ ในกายหลายอย่าง. 
               อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า #การพิจารณาเห็นกายในกาย มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอื่น มิใช่

#พิจารณาเห็นความเที่ยงความเป็นสุขความงาม 

#ในกายอันเป็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ 

#เป็นอนัตตาและไม่งาม โดยที่แท้การพิจารณาเห็นกายเท่านั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม. 
               อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายสักแต่ว่ากาย เพราะไม่เห็นใครๆ ที่ควรถือในกายว่า เรา ของเรา หญิงหรือชาย. 
               แม้ใน ๓ บทมีอาทิว่า เวทนาสุ #เวทนานุปสฺสนา #ข้างต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. 
               สตินั้นแลปรากฏชื่อว่าสติปัฏฐาน สติปัฏฐานสัมปยุตด้วยกายานุปัสสนา ชื่อว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ชื่อว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา. 
               บทว่า ตํ กายํ ท่านกล่าวทำดุจว่าแสดงแล้วเพราะกายนั้น ท่านสงเคราะห์ด้วย กาย ศัพท์ ในนามกาย รูปกาย แม้ยังมิได้แสดงไว้

 #เพราะอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น #ย่อมได้ในนามกายและรูปกายนั่นเอง ไม่ได้ในกายนิมิต อนุปัสสนาและภาวนาย่อมได้เพราะท่านกล่าวไว้แล้ว. 
               บทมีอาทิว่า ทีฆํ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้า ลมหายใจออกยาว. ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์แห่งอานาปานสติภาวนา เพราะความที่สติไพบูลย์และญาณไพบูลย์เป็นอานิสงส์อานาปานสติภานานั้น. 
               บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตํ อวิกฺเขํป ปชานโต เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ท่านกล่าวหมายถึงความที่จิตมีอารมณ์เดียวในกาลเห็นแจ้งฌานที่ได้แล้ว. 
               บทว่า วิทิตา เวทนา คือ #เวทนาซึ่งปรากฎด้วยเห็นการเกิดขึ้นจากความเป็นสามัญ. 
               บทว่า วิทิตา อุปฏฺฐหนฺติ ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ คือปรากฏเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป โดยความสูญ. 
               บทว่า วิทิตา อพฺภตฺถํ คจฺฉนฺติ ปรากฏถึงความดับไป คือปรากฏถึงความพินาศด้วยเห็นความเสื่อมโดยความเป็นสามัญ. 
               อธิบายว่า ทำลาย. 
               #แม้ในสัญญาและวิตกก็มีนัยนี้เหมือนกัน 
               อนึ่ง เมื่อท่านกล่าวเวทนา สัญญาและวิตก ๓ อย่างเหล่านี้ แม้รูปธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวไว้ด้วย เพราะเหตุไรจึงกล่าว ๓ อย่างเท่านั้น. เพราะกำหนดถือเอาได้ยาก สุขทุกข์ปรากฏในเวทนาก่อน แต่อุเบกขาสุขุม กำหนดถือเอาได้ยาก ไม่ปรากฏด้วยดี แม้อุเบกขาก็ยังไม่ปรากฏแก่ภิกษุนั้น. สัญญาคือเอาตามสภาวะ ไม่ปรากฏเพราะถือเอาเพียงอาการ. 
               อนึ่ง สัญญานั้นสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณถือเอาลักษณะเป็นสัญญาตามสภาวะไม่ปรากฏอย่างยิ่ง แม้สัญญาจะปรากฏแก่ภิกษุนั้น วิตกทำไว้ต่างหากจากญาณ เพราะเป็นญาณปฏิรูป จึงกำหนดถือเอายาก เพราะญาณปฏิรูปเป็นวิตก. 
               สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมคือสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะสงเคราะห์เข้าไปในปัญญาขันธ์.๑๑- 
____________________________ 
๑๑- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๐๘ 

               แม้วิตกนั้นก็ปรากฏแก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น เมื่อกล่าวถึงการกำหนดถือเอายากอย่างนี้ รูปธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวแล้วด้วย ในนิเทศแห่งบทเหล่านี้ ท่านถามว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้นอย่างไร ไม้แก้บทนั้นแก้เพียงปรากฏแห่งเวทนาที่เกิดขึ้น จึงเป็นอันแก้ความที่เวทนาปรากฏ เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ เวทนาย อุปฺปาโท วิทิโต โหติ ความเกิดแห่งเวทนาปรากฏอย่างไร แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน 
               บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมุทยา อวิชฺชานิโรธา เพราะอวิชชาเกิด เพราะอวิชชาดับ มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. 
               แม้สัญญาและวิตกก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. 
               ในวิตักกวาระ ท่านมิได้กล่าวว่า เพราะผัสสะดับแล้วกล่าวในที่แห่งผัสสะว่า เพราะสัญญาเกิด เพราะสัญญาดับ. 
               หากถามว่า ที่กล่าวดังนั้นเพราะเหตุไร. 
               ตอบว่า เพราะวิตกมีสัญญาเป็นมูล เพราะท่านกล่าวไว้ว่า๑๒- ความต่างกันแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา. 
____________________________ 
๑๒- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๔๖๑ 

               อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง พึงประกอบธรรมนั้นๆ ในวาระนั้นๆ โดยนัยมีอาทิว่า เวทนํ อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการเวทนาโดยความไม่เที่ยง ก็เพราะเวทนาสัมปยุตด้วยวิปัสสนา จึงไม่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา เพราะไม่สามารถในการทำกิจแห่งวิปัสสนาได้ฉะนั้นนั่นเอง เวทนาจึงไม่มาในโพธิปักขิยธรรม กิจแห่งสัญญาสัมปยุตด้วยวิปัสสนา จึงไม่คลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น สัญญานั้นจึงเป็นอุปการะส่วนเดียวของวิปัสสนา แต่กิจแห่งการเห็นแจ้งเว้นวิตกย่อมไม่มี เพราะวิปัสสนามีวิตกเป็นสหายย่อมทำกิจของตน. 
               ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า 
               ปัญญาตามธรรมดาของตนย่อมไม่สามารถจะตัดสินอารมณ์ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตาได้ แต่เมื่อวิตกกระทบแล้ว กระทบแล้วให้อารมณ์ จึงสามารถตัดสินได้ เหมือนเหรัญญิกวางกหาปณะไว้ที่มือ แม้ประสงค์จะตรวจดูในส่วนทั้งหมดก็ไม่สามารถจะพลิกกลับด้วยสายตาได้ แต่ครั้นเอานิ้วมือพลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้ ก็สามารถตรวจดูได้ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตามธรรมดาของตนไม่สามารถวินิจฉัยอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้นได้ แต่สามารถวินิจฉัยอารมณ์อันวิตกมีการยกขึ้นเป็นลักษณะ มีการกระทบและการจดจ่อเป็นรสอันมาแล้วๆ ให้ได้ ดุจกระทบและพลิกกลับไปมาฉะนั้น.๑๓- 
____________________________ 
๑๓- วิสุทฺธิมคฺค. ๓/๑๐๔ 

               เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงเพียงลักษณะ เพราะเวทนาและสัญญาทั้งหลายเป็นอุปการะแก่วิปัสสนา ท่านจึงชี้แจงด้วยเอกวจนะในบทนั้นๆ เวทนาย สญฺญาย ดังนี้. 
               บทว่า ทีฆํ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาวเป็นอาทิ ท่านกล่าวเพื่อแสดงความถึงพร้อมแห่งอานาปานสติภาวนา และผลแห่งภาวนา. 
               ในบทเหล่านั้น บทว่า สโมธาเนติ ให้ประชุมลง. 
               ความว่า ตั้งไว้ซึ่งอารมณ์หรือยังอารมณ์ให้ตั้งไว้ ชื่อว่าบุคคลย่อมตั้งอารมณ์ เพื่อความบริบูรณ์แห่งภาวนา แม้ในความไม่มีความตั้งมั่นและความขวนขวาย. 
               บทว่า โคจรํ อารมณ์ คือสังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรคและขณะแห่งผล. 
               บทว่า สมตฺถํ คือ ความสงบเป็นประโยชน์ หรือชื่อว่า สมตฺโถ เพราะประโยชน์ของความสงบ ซึ่งธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์นั้น. 
               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. 
               บทว่า มคฺคํ สโมธาเนติ ยังมรรคให้ประชุมลง คือนิพพานนั่นเองเป็นโคจรในขณะมรรคและผล. 
               บทว่า อยํ ปุคฺคโล บุคคลนี้ คือพระโยคาวจรผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอานาปานสติภาวนา. 
               ในบทว่า อิมสฺมึ อารมฺมเณ ในอารมณ์นี้ คือในอารมณ์อันเป็นสังขตะ กล่าวคือนามกาย รูปกายที่ท่านสงเคราะห์ ด้วยบทว่า กาเย และในนิพพานเป็นอารมณ์อันเป็นมรรคโดยลำดับนั้น. 
               ท่านกล่าวศัพท์ว่า อารัมมณะและโคจร มีความอันเดียวกันด้วยบทว่า ยนฺตสฺส เป็นอาทิ. 
               บทว่า ตสฺส คือ แห่งบุคคลนั้น. 
               บทว่า ปชานาตีติ ปุคฺคโล ปชานนา ปญฺญา ท่านอธิบายว่า บุคคลย่อมรู้ด้วยปัญญา. 
               บทว่า อารมฺมณสฺส อุปฏฺฐานํ ความปรากฏซึ่งอารมณ์ คือสติเป็นความปรากฏแห่งสังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรคผล. 

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=362&p=4

      [๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ

             กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ 

นามกายเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย 

รูปกายเป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิต และท่านกล่าวว่า
กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๗๑๘-๔๗๒๔ หน้าที่ ๑๙๓.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4718&Z=4724&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=403&items=1

"สัมมาทิฏฐิ อริยสัจ"

  "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ"

   

ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า

พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... 

มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา เป็นไฉน? 

ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัสเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา

ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา 

ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล 

อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา 

เหตุเกิดแห่งเวทนา 

ความดับเวทนา 

และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ 

เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... 

แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

                         สัมมาทิฏฐิสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...