"ในหมู่ผู้สนใจศึกษาศาสนาจะมีข้อโต้แย้งกันเสมอ ระหว่างการศึกษาจากตำรา คือศึกษาด้านปริยัติ กับอีกฝ่ายหนึ่งเน้นการปฏิบัติและไม่เน้นการศึกษาจากตำรา ว่าแนวทางใดจะให้ผลดีกว่ากัน
สำหรับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล #ท่านเสนอแนะให้ดำเนินสายกลาง นั่นคือ #ถ้าเน้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
#แล้วละเลยอีกด้านหนึ่งก็เป็นการสุดโต่งไป"
หลวงปู่ท่านแนะนำลูกศิษย์ลูกหาที่มุ่งปฏิบัติธรรมว่า
#ให้อ่านตำรับตำราส่วนที่เป็นพระวินัยให้เข้าใจ
#เพื่อที่จะปฏิบัติไม่ผิดแต่ในส่วนของพระธรรมนั้นให้ตั้งใจปฏิบัติเอา
จากคำแนะนำนี้แสดงว่าหลวงปู่ถือเรื่อง
#การปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระวินัยเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องมาก่อน ศึกษาให้เข้าใจ #และปฏิบัติตนให้ถูก แล้วเรื่องคุณธรรมและปัญญาสามารถสร้างเสริมขึ้นได้ถ้าตั้งใจ
ยกตัวอย่างในกรณีของ หลวงตาแนน
หลวงตาแนนไม่เคยเรียนหนังสือ ท่านมาบวชพระเมื่อวัยเลยกลางคนไปแล้ว ท่านเป็นพระที่มีความตั้งใจดี ว่าง่ายสอนง่าย ขยัน ปฏิบัติกิจวัตรไม่ขาดตกบกพร่อง เห็นพระรูปอื่นเขาออกไปธุดงค์ก็อยากไปด้วย จึงไปขออนุญาตหลวงปู่
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว หลวงตาแนนก็ให้บังเกิดความวิตกกังวลปรับทุกข์ขึ้นว่า กระผมไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ภาษาพูดเขา จะปฏิบัติกับเขาได้อย่างไร”
หลวงปู่จึงแนะนำด้วยเมตตาว่า
“การปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวกับอักขระ พยัญชนะ หรือคำพูดอะไรหรอกที่รู้ว่าตนไม่รู้ก็ดีแล้ว
#สำหรับวิธีปฏิบัตินั้นในส่วนวินัยให้พยายามดูแบบเขา
#ดูแบบอย่างครูบาอาจารย์ผู้นำ
#อย่าทำให้ผิดแผกจากท่าน
#ในส่วนธรรมะนั้นให้ดูที่จิตของตัวเอง
#ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้วอย่างอื่นก็เข้าใจได้เอง”
เนื่องจากหลวงปู่ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติมามากต่อมากท่านจึงให้ข้อสังเกตในการปฏิบัติธรรม ระหว่างผู้ที่เรียนน้อยกับผู้ที่เรียนมากมาก่อนว่า
“ผู้ที่ยังไม่รู้หัวข้อธรรมอะไรเลย เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง มักจะได้ผลเร็วเมื่อเขาปฏิบัติจนเข้าใจจิต หมดสงสัยเรื่องจิตแล้ว หันมาศึกษาตริตรองข้อธรรมในภายหลัง ก็จะรู้แจ้งแทงตลอด แตกฉานน่าอัศจรรย์”
“ส่วนผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน แล้วจึงหันมาปฏิบัติต่อภายหลังจิตจะสงบเป็นสมาธิยากกว่า เพราะชอบใช้วิตกวิจารมาก เมื่อจิตวิตกวิจารมาก วิจิกิจฉาก็มาก จึงยากที่จะประสบผลสำเร็จ”
#อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตดังกล่าว #หลวงปู่ย้ำว่า
“#แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปทีเดียว”
#แล้วท่านให้ข้อแนะนำต่อไปอีกว่า
“#ผู้ที่ศึกษาทางปริยัติจนแตกฉานมาก่อนแล้ว
#เมื่อหันมามุ่งปฏิบัติอย่างจริงจัง #จนถึงขั้นอธิจิต #อธิปัญญาแล้ว
#ผลสำเร็จก็จะยิ่งวิเศษขึ้นไปอีก เพราะเป็นการเดินตามแนวทางปริยัติ ปฏิบัติ ย่อมแตกฉานทั้งอรรถะและพยัญชนะ ฉลาดในการชี้แจงแสดงธรรม”
#หลวงปู่ได้ยกตัวอย่างพระเถระทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อสนับสนุนความคิดดังกล่าว ก็มีท่านเจ้าคุณ #พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (#สิริจนฺโท จันทร์) แห่งวัดบวรนิวาส กรุงเทพฯ และท่านอาจารย์พระมหาบัว ณานสมฺปนฺโน แห่งสำนักวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานีเป็นต้น
ทั้งสององค์นี้ “ได้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อาจหาญชาญฉลาดในการแสดงธรรม เป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่พระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง”
โดยสรุป หลวงปู่สนับสนุนทั้งตำรา คือ ปริยัติและปฏิบัติ ต้องไปด้วยกันและท่านย้ำว่า
“#ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ #ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน”
ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า #ท่านไม่ทิ้งทั้งปริยัติและปฏิบัติต้องมีประกอบกัน
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการสอนของหลวงปู่จากประสบการณ์ของหลวงพ่อเพิ่ม
กิตฺติวฒฺโน (พระมงคลวัฒนคุณ) แห่งวัดถ้ำไตรรัตน์อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ขอยกข้อความมาดังนี้
การศึกษาความรู้กับหลวงปู่ดูลย์เมื่อครั้งที่ท่าน (หลวงพ่อเพิ่ม) ยังเป็นสามเณรน้อย ได้รับการชี้แนะอบรมพร่ำสอนจากหลวงปู่ดูลย์อย่างใกล้ชิด โดยท่านจะเน้นให้ศิษย์ของท่านมีความสำนึก ตรึกอยู่ในจิตเสมอถึงสภาวะความเป็นอยู่ในปัจจุบันว่า
บัดนี้เราได้บวชกายบวชใจเข้ามาอยู่ในบวรพุทธศาสนา เป็นสมณะที่ชาวบ้านทั้งหลายให้ความเคารพบูชา ทั้งยังอุปัฏฐากอุปถัมภ์ค้ำจุนด้วยปัจจัยสี่ ควรที่จะกระทำตนให้สมกับที่เขาเคารพบูชา ถือประพฤติปฏิบัติตามศีลธรรมตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่ฝ่าฝืนทั้งที่ลับและที่แจ้ง
พระเณรที่มาบวชกับท่าน
#หลวงปู่จึงให้ศึกษาทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป
#ด้านปริยัติ ท่านให้เรียนนักธรรม บาลี ไวยากรณ์ ให้เรียนรู้ถึงเรื่องศีล ธรรม พระวินัย เพื่อจะได้จดจำนำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างเหมาะสม เยี่ยงผู้ถือบวชที่ชาวบ้านเขาศรัทธากราบไหว้บูชา
#ด้านปฏิบัติ ท่านเน้นหนักเป็นพิเศษให้พระเณรทุกรูปทุกองค์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพราะการปฏิบัติพระธรรมกัมมัฏฐานนี้ จะเป็นการฝึกกายฝึกจิตให้ผู้ศึกษาธรรม ได้รู้ได้เห็นของจริงโดยสภาพที่เป็นจริง อันเกิดจากการรู้การเห็นของตนเอง ไม่ใช่เกิดจากการอ่านจดจำจากตำรับตำรา ซึ่งเป็นการรู้ด้วยสัญญาแห่งการจำได้หมายรู้ คือรู้แต่ยังไม่เห็น ยังไม่แจ้งแทงตลอดอย่างแท้จริง
ข้อธรรมกัมมัฏฐานที่หลวงปู่ดูลย์ ท่านให้พิจารณาอยู่เป็นเนืองนิตย์ก็คือ หัวข้อกัมมัฏฐานที่ว่า สพฺเพ สงฺขาราสพฺพสญฺญา อนตฺตา
การพิจารณาตามหัวข้อธรรมกัมมัฏฐานดังกล่าวนี้ หากได้พิจารณาทบทวนอย่างสม่ำเสมอแล้ว ในเวลาต่อมา ก็จะรู้แจ้งสว่างไสว เข้าใจได้ชัดว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ มีการเกิดดับ-เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว จะทำให้เลิกละจากการยึดถือตัวตนบุคคลเราท่าน เพราะได้รู้ได้เห็นของจริงแล้วว่าสังขารที่เรารักหวงแหนนั้น ไม่ช้าไม่นานมันก็ต้องเสื่อมสูญดับไปตามสภาวะของมัน ไม่อาจที่จะฝ่าฝืนได้
เมื่อสังขารดับได้แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนก็จะไม่มีเพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดหายไป ความทุกข์จะเกิดได้อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น