หลวงพ่อพุธ : โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนา #พุทโธ และ #อานาปานสติ เป็นหลักปฏิบัติ
การบริกรรมภาวนา ให้จิตอยู่ ณ จุดเดียว คือ พุทโธ ซึ่งพุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต เมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาตามองค์ฌาน ๕
การนึกถึง พุทโธ เรียกว่า วิตก
จิตอยู่กับ พุทโธ ไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจาร
หลังจากนี้ ปีติ และความสุข ก็เกิดขึ้น
เมื่อปีติและความสุขเกิดขึ้นแล้ว จิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินไปสู่ความสงบ เข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่ง สว่าง ไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ
ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต
ถ้าจะเรียกโดยสมาธิก็เรียกว่า อัปปนาสมาธิ
ถ้าจะเรียกโดยฌานก็เรียกว่า อัปปนาฌาน
บางท่านนำไปเทียบกับฌานขั้นที่ ๔
จิตในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น นอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น
เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบนิ่งเช่นนี้ จิตย่อมไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ผู้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในสายนี้ จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณากายคตาสติ เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยการพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด เป็นของโสโครก จนกระทั่งจิตมีความสงบลง ผู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา
เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณา #ผม #ขน #เล็บ #ฟัน #หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นว่าเป็นของปฏิกูล โดยปราศจากเจตนาสัญญาแล้ว ก็เกิดนิมิตเห็นสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกจริงๆ โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆ ทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นอสุภกรรมฐาน
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญ จนรู้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้ว ในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ได้แนะนำให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ ๔ #ธาตุดิน #ธาตุน้ำ #ธาตุลม #ธาตุไฟ จนกระทั่งเห็นเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ
เมื่อจิตรู้ว่าเป็นแต่เพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ จิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า ตามที่พูดกันว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่มี มีแต่ความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมเกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า ในตัวของเรานี้ไม่มีอะไร เป็นอนัตตาทั้งสิ้น มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น
ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้ เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ขั้นสมถกรรมฐาน
และในขณะเดียวกันนั้น ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติปฏิวัติความรู้ไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
#ถ้าหากมีอนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
#ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา
เมื่อผู้ปฏิบัติมาฝึกฝนอบรมจิตของตนเองให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะของอสุภกรรมฐานโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า
กายเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเห็นว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา ด้วยอุบายดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ พิจารณาย้อนกลับไปกลับมา จิตจะค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ภูมิรู้ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป
#หลักการปฏิบัติของท่านอาจารย์เสาร์ก็มีดังนี้
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ตอบปัญหาธรรมเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
ที่มา : หนังสือฐานิยตฺเถรวตฺถุ
เพจ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม #มนสิการ
(คือ #กระทำไว้ในใจ)
ว่า #ผมทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ ผมเหล่านั้นย่อมไม่รู้ตัวเองว่า เราเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ แม้หนังหุ้มศีรษะเล่าก็ย่อมไม่รู้ว่า ผมทั้งหลายเกิดในเรา สิ่งเหล่านี้ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นสภาพแข็ง กระด้าง นี้เป็นปฐวีธาตุ.
ย่อมมนสิการว่า #ขนทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มสรีระ ขนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่หนังหุ้มสรีระ
แม้หนังหุ้มสรีระเล่าก็ไม่รู้ว่า ขนทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด.
#เล็บทั้งหลายเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย เล็บเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย แม้ปลายนิ้วทั้งหลายเล่าก็ไม่รู้ว่า เล็บทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีการคิด.
#ฟันทั้งหลายเกิดที่กระดูกคาง ฟันเหล่านี้ย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่กระดูกคาง แม้กระดูกคางเล่าก็ไม่รู้ว่า ฟันทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีการคิด.
#หนังย่อมไม่รู้ว่าเราหุ้มสรีระแม้สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังหุ้มไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด.
เนื้อย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบทาสรีระ แม้สรีระเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูกเนื้อฉาบทาไว้แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด.
เอ็นย่อมไม่รู้ว่า เราผูกกองกระดูกไว้ แม้กองกระดูกเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูกตาข่ายแห่งเอ็นผูกไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด.
กระดูกศีรษะย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกคอ แม้กระดูกคอเล่าก็ไม่รู้ว่า กระดูกศีรษะตั้งอยู่ในเรา กระดูกคอก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกสันหลัง
แม้กระดูกสันหลัง กระดูกสะเอว กระดูกขาอ่อน กระดูกแข้ง กระดูกข้อเท้าย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกส้นเท้า แม้กระดูกส้นเท้าเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกข้อเท้าตั้งไว้ ฯลฯ
กระดูกคอย่อมไม่รู้ว่า เรายกกระดูกศีรษะตั้งไว้ กระดูกทั้งหลายตั้งอยู่โดยที่สุดกันตามลำดับ.
จากนี้ไปในที่ต่อมิใช่น้อย เอ็นอะไรๆ มิได้ผูกไว้. กองกระดูกนี้ก็ไม่มีการคิดเป็นดังท่อนไม้ เป็นสภาวะอันชราเตือนแล้ว. เยื่อในกระดูกแม้นี้ก็ไม่มีการคิด. ไต ฯลฯ มันสมองก็ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า แข็งกระด้าง เป็นปฐวีธาตุ ดังนี้.
#ย่อมกระทำไว้ในใจว่า น้ำดี เสลด ฯลฯ น้ำมูตรไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นเครื่องเกาะกุม เป็นอาโปธาตุเอิบอาบซึมซาบไป.
#เมื่อพระโยคาวจรกำหนดมหาภูตรูป ๒ เหล่านี้อยู่ เตโชธาตุอันมากย่อมปรากฏที่อุทร.
#วาโยธาตุอันมากย่อมปรากฏที่จมูก.
เมื่อกำหนดมหาภูตรูป ๔ เหล่านี้อยู่ อุปาทารูปย่อมปรากฏ.
ชื่อว่ามหาภูตรูปย่อมกำหนดได้ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนดได้ด้วยมหาภูตรูป. เปรียบเหมือนชื่อว่าแสงแดดกำหนดได้ด้วยเงา เงาก็กำหนดได้ด้วยแสงแดดฉันใด มหาภูตรูปก็ฉันนั้นนั่นแหละ กำหนดได้ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนดได้ด้วยมหาภูตรูป.
ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น เมื่อภิกษุนั้น #กำหนดรูปขันธ์ว่า มหาภูตรูป ๔ อุปาทารูป ๒๓ เป็นรูปขันธ์อย่างนี้อยู่
#อรูปขันธ์ก็ย่อมปรากฏตัวด้วยอำนาจแห่งอายตนะและทวาร.
#การกำหนดรูปและอรูปขันธ์คือขันธ์๕
ย่อมปรากฏด้วยประการฉะนี้.
#ขันธ์๕ คือ #อายตนะ๑๒ และอายตนะ ๑๒
ก็คือ #ธาตุ๑๘ เพราะฉะนั้น
#ภิกษุพึงกำหนดนามและรูป
#กระทำให้เป็น๒ส่วน ด้วยสามารถแห่งขันธ์ อายตนะและธาตุ ให้เป็นราวกะว่าผ่าอยู่ซึ่งเหง้าตาลคู่ ฉะนั้น.
ภิกษุนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า #นามรูปนี้ เกิดขึ้นเพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยหามิได้ #เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ #มีปัจจัย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยของนามรูปนั้น จึงกำหนดปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า
นามรูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว ย่อมก้าวล่วงความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ในกาลบัดนี้ (คือปัจจุบัน) ก็ดี ปัจจัยทั้งหลายและธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นอกจากนี้แล้ว หามีสัตว์หรือบุคคลไม่ มีแต่กองสังขารล้วนๆ เท่านั้น ดังนี้.
#ก็วิปัสสนานี้มีสังขารเป็นเครื่องกำหนด จึงชื่อว่าญาตปริญญา. เมื่อภิกษุกำหนดสังขารแล้วดำรงอยู่อย่างนี้ รากฐานในศาสนาแห่งพระทศพลของเธอ ชื่อว่าหยั่งลงแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่งแล้ว
#ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่าพระจุลโสดาบันผู้มีคติแน่นอน.
ก็ภิกษุนั้นได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะและธัมมสัปปายะเช่นนั้นแล้ว อาศัยอยู่ด้วยเอกบัลลังก์อันประเสริฐในอาสนะเดียว
#พิจารณาสังขารทั้งหลายยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยลำดับแห่งวิปัสสนา
#ย่อมถือเอาพระอรหัตได้ฉะนี้แล.
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35.0&i=431&p=3
...........................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น