"...วิธีการนั่งก็ให้เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ทำกายให้ตรง ดำรงสติให้ตั้งมั่นเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตไปในอดีตอันผ่านมาแล้วให้หวนกลับมาในจิตอีก ไม่ส่งจิตไปในอนาคตอันยังมาไม่ถึง หรือสร้างวิมานสวยหรูของอนาคตขึ้นในจิตใจ
ให้กำหนดในปัจจุบัน ว่าเรากำลังนั่งสมาธิ น้อมเอา
#คุณพระพุทธเจ้ามาไว้ที่ใจ น้อมเอาคุณพระสงฆเจ้าเข้ามาไว้ที่ใจ
ตั้งจิตไว้ที่จิต ตั้งใจไว้ที่ใจ โดยใช้ตัวสติเป็นตัวบังคับให้นิ่งอยู่กับคำบริกรรมว่า
#พุทโธอารมณ์เดียว
#จนกว่าจิตจะลงรวมแล้วก็พักผ่อนอยู่ในความสงบอันนั้น
#เมื่อครั้งจิตถอนออกมาให้ใช้ปัญญาค้นคว้าในกายนี้ลงสู่ #ไตรลักษณ์จนเห็นแจ้ง
ประจักษ์ในไตรภพ ลงสู่ไตรลักษณ์อันเดียว
ผลงานค้นคว้า คือ จิตของเราจะรู้สึกสลดสังเวชเป็นเหตุให้เกิด นิพพิทาญาณ การเบื่อหน่ายในชาติ - ความเกิด ชรา - ความแก่ พยาธิ - ความเจ็บไข้ได้ป่วย มรณะ - ความตาย ความพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลาย เห็นโทษของ สมุทัย ใจ ตัณหา พาเราเกิดตายอยู่บ่อยๆ ความเกิดทั้งหลายเป็นทุกข์หลาย หาความสุขไม่มี
#มีแต่ทุกข์ #เกิดแล้ว #ตั้งอยู่ #ดับไป #ตกอยู่ในไตรลักษณ์ มีเกิดเป็นเบื้องต้น กลางก็เปลี่ยนแปลง ท้ายสุดก็นอนทับพื้นปฐพี ให้ปลวกมากินตา ให้หมากินไส้ ถ้าไม่ฝังเอาไว้ ฝูงแร้งฝูงกาก็เป็นลาภของมัน
อาหาระลาภะปัจจะโย สัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ด้วยอาหาร อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญของสัตว์ พิจารณาดูว่า สรรพสัตว์ที่เกิดมาแล้วต้องหากินอยู่ ค่ำไม่ได้กิน คืนไม่ได้นอน ตากแดดตากฝนทนทุกข์ทรมาน อาหาระปริเยสิทุกขัง ทุกข์เพราะต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง อันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง เพราะฉะนั้นทุกคนต้องระวังปากระวังท้อง
ถ้าจะพูดกันจริงๆ ละก็ บอกว่า ถ้าข้าวไม่ตกถึงท้องอย่ามายุ่งนะ ผัวเมียเกิดศึกหิวข้าวก็ตอนนี้ ลูกฆ่าแม่ก็เรื่องนี้ เรื่องปากมันหิว เรื่องท้องมันอยาก ถึงจะมีอาหารการกินดีแสนดีอย่างไรก็ตาม ก็ไม่พ้นเรื่องทุกข์ แต่ก็พากันหลงระเริงสำคัญว่า มันมีความสุข
ถ้ามาพูดความจริงของสภาวธรรมแล้ว
#กายนี้เป็นก้อนทุกข์ก้อนธรรมทั้งหมด
ตั้งแต่หัวจรดเท้า หาช่องสุขในระหว่างกลาง
มิได้เลยแม้แต่น้อยนิด
#จึงเรียกว่ากองทุกข์ คือ
#ทุกข์ทั้ืงหลายมันมากองอยู่ในขันธ์5
จึงสามารถแยกทุกข์ออกเป็นกองๆ แล้วได้ถึง 5 กอง
#กองหนึ่งรวมอยู่ที่ #รูป
#กองสองอยู่ที่ #เวทนา
#กองสามอยู่ที่ #สัญญา
#กองที่สี่อยู๋ที่ #สัีงขาร
#กองสุดท้ายกองห้าอยู่ที่ #วิญญาณ...ฯลฯ
........................
คัดลอกจากหนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย โครงการหนังสือบูรพาจารย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น