29 มกราคม 2564

เทคนิคการดผยแผ่พระพุทธศาสนา

หลักศาสนาพุทธของเราเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ก็คือการดับของจิตนั่นเอง จิต
สุดท้ายของการตายซึ่งจะนำเราไปสู่การเกิด?...

คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลายระดับ คือ โลกียธรรม และ โลกุตรธรรม
ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่มุ่งสู่นิพพาน คือความว่างอย่างยิ่ง ในธรรมชาติ แสงสว่างและเวลา
ทำให้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าไม่มีแสงสว่างก็ไม่มีเวลา เพราะเวลานั้นสัมพ้ทธ์กับ
แสงสว่าง

แสงสว่างเป็นตัวต้นกำเนิดของเมแทบอลิซึ่มทั้งปวง เช่น ทำให้เซลเราแก่ลง จึงเกิดเวลา 
เกิดอดีต เกิดอนาคต มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดปฎิจจสมุปบาท จิทัปปัจจยตา ฯลฯ..

สำหรับการเผยแผ่ศาสนาพุทธของเรา พ่อมีข้อแย้งสักเล็กน้อยเป็นการติเพื่อก่อต่างหาก
คือ การยึดติดในแนวทางปฎิบัติของสายพระป่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ การเผยแผ่
ศาสนา เราต้องแยกให้ต่างออกมา เพราะมันต่างกัน

เพราะแนวทางปฎิบัติของสายหลวงปู่มั่น นั้นเป็นแนวทางการปฎิบัติขั้นสูงผ่านเลยโลกีย์
ธรรมแล้ว แต่สำหรับบุคคลทั่วไป และ ชาวต่างชาติ ผู้ริเริ่มมาสนใจพุทธศาสนาทั้งคนไทย
และ ชาวต่างชาติซึ่งยังมี ความรัก ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง และ ยังมีพื้นฐาน
วัฒนธรรมที่แตกต่างจากเราโดยเฉพาะชาวต่างชาติจึงจำเป็นต้องขัดเกลา กิเลส ด้วย
สมาธิ เมื่อจิตสงบแล้วปัญญาจึงเกิด

สำหรับผู้ยึดติดในหลักการของสายพระป่า ซึ่งมีวัตรปฎิบัติที่เข้มขลังมุ่งเน้นการสละกิเลส
อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นแนวทางของอภิปรัญญา เพื่อความหลุดพ้นจากสังสารวัฐยังไม่
สามารถนำมาใช้กับบุคคลทั่วๆ ไปได้ แต่ก็สามารถพัฒนาจิตสู่ขั้นสูงได้

เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้เจริญแล้วซึ่งถึงความตระหนักรู้ทางปัญญา สำหรับผู้
ยึดติดในหลักการที่เข้มข้นและชอบเปรียบเทียบพระสายอื่นๆ ทำให้เขายึดใจผิดและถูก
คิดว่าตนเองนั้นถูกต้องเสมอ และ คนอื่นนั้นผิด ดังนั้นจิตเขาไม่ยอมเป็นกลาง ไม่สามัคคี
กับทุกอย่าง ยังมีความลำเอียงและเลือกที่รักมักที่ชัง

ดังนั้นจิตของพวกเขาก็ยังคงอยู่ในมิติที่ 3 และ อยู่กับพวกที่มีความเชื่อหรือมีความคิดที่
เหมือนกัน แต่กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะไม่มีอิสระเพราะว่าทุกคนต้องทำตามหัวหน้ากลุ่ม หรือ
ลัทธิในความเชื่อของพวกเขา และ ในกลุ่มเขาจะมีระดับ มียศ มีเกียรติ มีตํ่า มีสูง

ยึดในรูปแบบต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้ ต่างจากนี้ก็จะไม่ยอมรับ ต้องเคารพเชื่อฟังในคำสอนของหัวหน้ากลุ่ม มิฉะนั้นอาจถูกอัปเปหิออกจากกลุ่มได้ และ เขาไม่สามารถ
รักทุกคนได้ เขาจะรักแต่สิ่งที่เขาชอบเท่านั้น และ รังเกียจในสิ่งที่เขาไม่รัก และจิตเขายัง
มีการเปรียบเทียบ และ เขาเป็นกลางไม่ได้จริงๆ

แต่สำหรับคนที่ตื่นแล้ว เขาจะไม่ยึดติดในหลักปฎิบัติที่เข้มขลังเขาสามารถใช้คำสอนที่มี
ประโยชน์ของทุกๆ หลักการของศาสนาเพื่อฝึกจิตให้เป็นกลาง แต่เขาจะไม่ยึดติดในสิ่ง
ใด เขาจะอาศัยประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากความสงบของจิตที่ได้รับมาจากการทำ สมาธิ
ทำให้จิตเขาปล่อยวาง และ ละไปเรื่อยๆ จนจิตใจเขามีแสงสว่าง และ มองสาเหตุว่า ทุก
อย่างเกิดขึ้นมาจากอะไร ทำให้เขาหายหลง

ปัญญาพวกนี้ไม่ได้เกิดมาจากการอ่านหนังสือ หรือไปจำมาจากผู้อื่น เป็นอุบัติปัญญา ดังนั้นจิตมองเห็นความเข้าใจผิดได้ในปัจจุบันขณะ ดังนั้น จิตจึงต้องมีความสงบพอเพียง
จึงรู้สึกกว้างขึ้น และ มองเห็นในสิ่งพวกนี้ได้ ทำให้จิตหลุดจากความคิด ความเชื่อ และ
อารมณ์ที่แกว่งไปมา จิตก็เลยรู้สึกนิ่ง เย็น โล่ง สบาย ทำให้มองเห็นว่าจิตหลอกตัวเองให้
เป็นทุกข์ได้อย่างไร จิตหลอกตัวเองให้ไปยึดมั่นอย่างไร จิตหลอกตัวเองให้ไปเปรียบ
เทียบได้อย่างไร 

เมื่อมันไปเห็นชนวนก่อเหตุ มันก็เลยไปดับที่เหตุ ทำให้จิตมีความเป็นกลางต่อทุกสิ่ง มี
ความรักความเมตตากับทุกอย่างได้ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ดังนั้น ผู้ที่ตื่นแล้วพวกเขาจึงมี
อิสระและไม่บังคับกัน พวกเขาจะส่งแรงบันดาลใจและเน้นให้ผู้ฝึกสมาธิเบิกบานใจ ทำให้
จิตคลายจากความเครียด และ มีความเป็นกลางอยู่เสมอ มีความยินดีและพอใจอยู่กับ
ปัจจุบันขณะ

รู้สึกปล่อยวางการเปรียบเทียบ ดังนั้นจึงไม่มีใครตํ่าหรือใครสูงกว่ากัน เปรียบดังเหมือน
กัลยาณมิตร แต่ทุกคนก็เคารพและรักกันได้ ด้วยความเป็นกลางและพบกับของจริง เราจะ
ได้มีความชำนาญในการสังเกตุจิตใจของตนเอง และ เราก็สามารถปล่อยวางได้เอง ทำให้ตนเองพบความสุขอันแท้จริงในใจเมื่อจิตมีความเย็น สงบ ไม่ยึดติดสิ่งใดแต่สามารถอยู่กับทุกสิ่งได้เพราะจิตมี ความอิ่มเอม ชื่นบาน สดใส สงบ สว่าง แจ่มแจ้งและ
มีความฉลาดซึ่งเกิดจากความเป็นกลาง 

ทำให้เรารู้ว่าอะไรสมควร อะไรไม่สมควร สามารถรักษาศิลได้ ไม่ทำร้ายผู้อื่นทั้ง กิริยา
วาจา หรือ ท่าทางของตนเอง ทำให้เรามี สมดุล และ มีความสามัคคีมีความเคารพต่อความ
เห็นต่างของผู้อื่น และ ให้เกียรติต่อทุกคน ได้อย่างเป็นกลางที่สุด โดยไม่มีการเปรียบ
เทียบหรือเปรียบเป็นอย่างอื่นเลย...

ที่มา
แสงสว่าง มองการไกล.....

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...