ผู้ใดใช้ดาบคืออริยมรรคญาณตัดตะปูตรึงจิตและบ่วงในธรรม คือสังกิเลส ๔ อย่างนี้ที่ท่านกล่าวไว้ว่า เฉตฺวา ขิลญฺจ ปาสญฺจ ทั้งหมดนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เสลํ เภตฺวา น ทุพฺภิทํ ความว่า ใช้ญาณอันเปรียบด้วยเพชรตัดภูเขาอันล้วนแล้วแต่หินคือความไม่รู้ อันใครๆ ไม่สามารถจะตัดได้ด้วยญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วข้ามโอฆะทั้ง ๔ ชื่อว่าข้ามได้แล้ว คือถึงฝั่งแล้ว เพราะตั้งอยู่ในพระนิพพานอันเป็นฝั่งโน้นแห่งโอฆะทั้ง ๔ นั้น
#ชื่อว่าผู้เพ่งฌานด้วยฌานทั้งสอง
#คือฌานเข้าไปเพ่งอารมณ์เป็นลักษณะ๑
#ฌานเข้าไปเพ่งลักษณะเป็นลักษณะ๑.
บทว่า ปุตฺโต โส มารพนฺธนา ความว่า พระขีณาสพนั้นคือเห็นปานนั้น พ้นแล้ว พ้นขาดแล้ว ปราศจากแล้ว จากเครื่องผูกคือกิเลสมารแม้ทั้งหมด เพราะเหตุนั้น #พระเถระกล่าวหมายเอาตนนั่นเอง.
ภายหลังวันหนึ่ง #พระเถระเห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้สัทธิวิหาริกของตนเป็นคนเกียจคร้าน
#มีความเพียรเลว #มีจิตฟุ้งซ่าน #มีจิตดังไม้อ้ออัน
ยกขึ้นอยู่ด้วยการคลุกคลีด้วยบุคคลผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร #จึงไปในที่นั้นด้วยฤทธิ์แล้วโอวาทภิกษุนั้นว่า อย่ากระทำอย่างนี้เลยอาวุโส จงละบุคคลผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร คบหาบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรทั้งหลาย.
ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อคำของพระเถระ.
#พระเถระถึงธรรมสังเวชด้วยการไม่เอื้อเฟื้อของภิกษุนั้น
#จึงติเตียนการปฏิบัติผิด ด้วยถ้อยคำเป็นบุคลาธิษฐาน
เมื่อจะสรรเสริญการปฏิบัติชอบและการอยู่ด้วยความสงัด จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก คบหาแต่มิตรที่เลวทราม
ถูกคลื่นซัดให้จมอยู่ในห้วงน้ำคือสงสาร ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่
ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตัวรอดสำรวมอินทรีย์
คบหากัลยาณมิตร เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดังเถา
หญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำ มีใจไม่ย่อท้อ
ถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมมีสติอดกลั้น
ด้อยู่ในป่านั้น เหมือนช้างที่อดทนต่อศาตราวุธในยุทธ
สงครามฉะนั้น
เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่
เรารอเวลาตาย เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น
เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ แต่เรามี
สติสัมปชัญญะรอเวลาตาย
พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรทั้ง
หลาย ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว เพราะฉะนั้นจะ
มีประโยชน์อะไร ด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายากแก่เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธโต ความว่า ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน #คือมีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน.
บทว่า จปโล ความว่า ประกอบด้วยความโยกโคลงมีการตบแต่งบาตรและจีวรเป็นต้น คือเป็นผู้มีจิตโลเลเป็นปกติ.
บทว่า มิตฺเต อาคมฺม ปาปเก ความว่า อาศัยบุคคลไม่เป็นกัลยาณมิตรแล้วไม่กระทำสมณธรรม.
บทว่า สํสีทติ มโหฆสฺมึ อูมิยา ปฏิกุชฺชิโต ความว่า บุรุษผู้ตกไปในมหาสมุทรอันคลื่นในมหาสมุทรท่วมทับ เมื่อไม่สามารถจะยกศีรษะขึ้นได้ ก็จมไปในมหาสมุทรนั่นเองฉันใด
บุคคลผู้วนเวียนอยู่ในโอฆะใหญ่ในสงสารก็ฉันนั้น ถูกคลื่นคือโกธะและอุปายาสครอบงำ คือท่วมทับ เมื่อไม่สามารถเพื่อจะยกศีรษะคือปัญญาขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา จึงจมลงไปในโอฆะใหญ่คือสงสารนั้นนั่นเอง.
บทว่า นิปโก ได้แก่ ผู้ละเอียดอ่อน คือเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น.
บทว่า สํวุตินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์อันปิดแล้ว ด้วยการปิดอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖.
บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกัลยาณมิตรทั้งหลาย.
บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญา มีโอชะอันเกิดแต่ธรรม.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลเช่นนั้น พึงกระทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น.
บทว่า กาลปพฺพงฺคสงฺกาโส เป็นต้น เป็นบทระบุถึงความยินดีในวิเวก.
ส่วนบทว่า นาภินนฺทามิ เป็นต้น เป็นบทแสดงภาวะแห่งกิจที่ทำเสร็จแล้ว.
คำทั้งหมดมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
ก็ในที่สุด ท่านกล่าวหมายเอาสัทธิวิหาริกของตนด้วยคำว่า กึ เม สทฺธิวิหารินา. เพราะฉะนั้น จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายาก ผู้ไม่เอื้อเฟื้อเช่นนั้น.
อธิบายว่า เราชอบใจการอยู่โดดเดี่ยวเท่านั้น.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วได้ไปสู่สระฉันทันตะนั่นแล.
ท่านอยู่ในที่นั้นสิ้น ๑๒ ปี เมื่อจวนปรินิพพาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว จึงไปปรินิพพานในที่นั้นนั่นเอง.
อรรถกถาอัญญาโกณฑัญญเถรคาถาที่ ๑
...............................................................
#บั้นปลายชีวิต
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบหลีกเร้นอยู่ในสถานที่อันสงบวิเวกตามลำพัง ในคัมภีร์มโนรถปูรณี และคัมภีร์ธุรัตวิลาสินี กล่าวไว้ตรง กันว่า เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพานท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษา ณ ป่าหิมพานต์ ตามลำพัง นอกจากต้องการความสงบดังกล่าวแล้ว ยังมีเหตุผลส่วนตัวของท่าน อีก 3 ประการคือ
1.ท่านไม่ประสงค์จะเห็นพระอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยแบ่งเบาภาระของพระพุทธองค์ กิจการพระศาสนาด้านต่าง ๆ ที่ต้องมาแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้เฒ่าชราอย่างท่าน ซึ่งสังขารนับวันจะร่วงโรยและใกล้แตกดับเข้าไปทุกขณะ
2.ท่านได้รับความเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ที่ต้องคอยต้อนรับผู้ไปมาหาสู่ ซึ่งมีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ การอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านจึงไม่เหมาะสมสำหรับพระแก่ชราอย่างท่าน
3. #ท่านเบื่อหน่ายในความดื้อรั้น #ของพระสัทธิวิหาริกรุ่นหลัง ๆ #ที่มักประพฤตินอกลู่นอกทาง ห่างไกลจากการบรรลุมรรคผล
ท่านได้อยู่จำพรรษา ในป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์ เป็นเวลานาน 12 ปี วันที่ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้ว ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลลานิพพาน ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานในบรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก ได้เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน
#วิกิพีเดีย
...............................................................
อัญญาโกณฑัญญเถราปทานที่ ๙ (๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายปฐมภัตแก่พระพุทธเจ้า
[๙] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เชษฐบุรุษของโลก เป็น
นายกอย่างวิเศษ บรรลุพุทธภูมิแล้ว เป็นครั้งแรก เทวดาประมาณ
เท่าไร มาประชุมกันที่ควงไม้โพธิทั้งหมด แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า
ประนมกรอัญชลีไหว้อยู่ เทวดาทั้งปวงมีใจยินดี เที่ยวประกาศไปใน
อากาศว่า พระพุทธเจ้านี้ทรงบรรเทาความมืดมนอนธกาลแล้ว ทรงบรรลุ
แล้ว เสียงบันลือลั่นของเทวดาผู้ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้นได้เป็น
ไปว่า เราจักเผากิเลสทั้งหลาย ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรารู้
(ได้ฟัง) เสียงอันเทวดาทั้งหลายเปล่งแล้วด้วยวาจา ร่าเริงแล้ว มีจิตยินดี
ได้ถวายภิกษาก่อน พระศาสดาผู้สูงสุดในโลก ทรงทราบความดำริของเรา
แล้วประทับนั่ง ณ ท่ามกลางหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า เรา
ออกบวชได้ ๗ วันแล้ว จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ ภัตอันเป็นปฐมของเรา
นี้เป็นเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เทพบุตรได้จาก
ดุสิตมา ณ ที่นี้ ได้ถวายภิกษาแก่เรา เราจักพยากรณ์เทพบุตรนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักเสวยเทวราชสมบัติอยู่ประมาณ ๓ หมื่น
กัลป์ จักครอบครองไตรทิพย์ ครอบงำเทวดาทั้งหมด เคลื่อนจากเทวโลก
แล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยราชสมบัติใน
มนุษย์โลกนับพันครั้ง ในแสนกัลป พระศาสดาพระนามว่าโคดม โดย
พระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก
ผู้นั้นเคลื่อนจากไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักออกบวชเป็น
บรรพชิตอยู่ ๖ ปี แต่นั้นในปีที่ ๗ พระพุทธเจ้าจักตรัสจตุราริยสัจ ภิกษุ
มีนามชื่อว่าโกณฑัญญะ จักทำให้แจ้งเป็นปฐม เมื่อเราออกบวช ได้บวช
ตามพระโพธิสัตว์ ความเพียรเราทำดีแล้ว เราบวชเป็นบรรพชิตเพื่อต้อง
การจะเผากิเลส พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเสด็จมา ตีกลองอมฤตในโลก
พร้อมทั้งเทวโลกในป่าใหญ่กับเราด้วยนี้ บัดนี้ เราบรรลุอมตบทอันสงบ
ระงับ อันยอดเยี่ยมนั้นแล้ว เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ
อยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑๐๗๕-๑๑๐๖ หน้าที่ ๔๕-๔๖.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1075&Z=1106&pagebreak=0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น