11 มกราคม 2564

เวทนานุปัสสนา ศีล สมาธิ ปัญญา

#คนเราเมื่อมีเวทนาอันใดเกิดขึ้นแล้วมักทำความปรารถนาต่างๆให้เกิดขึ้น 

ตัวอย่างเช่น 

#สุขเวทนาได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็อยากให้สุขนั้นเป็นอยู่คงที่ หรืออยากให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เลยกลายเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น #ที่เรียกว่าสมุทัย 

#เลยได้รับผลตรงข้ามกับความต้องการของตน 
บางทีก็ #มีทุกข์เวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ต้องการ 
ดิ้นรนหาความสุขต่อไปเลยกลายเป็นเพิ่มทุกข์ 

#บางขณะใจก็เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย #เป็นกลางวางเฉยอยู่เช่นนั้น #แล้วก็อยากให้เป็นอยู่เช่นนั้นเป็นนิจ 

บางทีก็เห็นว่าตนไม่ฉลาด เป็นเหตุให้เกิดความปรารถนาขึ้นอีกได้ แล้วก็ดิ้นรนขวนขวายอยากให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าตนที่เป็นอยู่นั้น 

#เมื่อเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในสติปัฏฐานไม่ได้ 

#ถึงแม้มีสติระลึกได้อยู่ว่าสุขหรือทุกข์ 

#หรืออุเปกขาก็ตาม

 #แต่ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นเช่นนั้น 

นี่ก็ส่อให้เห็นว่าขาดคุณธรรม ๓ อย่าง ทะนุบำรุงช่วยสนับสนุนสติอันนั้นให้เป็นองค์มรรคขึ้น 

#คือให้มีสัมปชัญญะความรู้ดี ประจำใจไว้เป็นเบื้องต้นนี้

หนึ่ง #แล้วใช้สติแล่นติดต่ออารมณ์กับจิต

#อย่าให้จิตเคลื่อนคลาดจากอารมณ์ทั้งนั้น อย่าให้อารมณ์นั้นคลาดเคลื่อนจากจิต 

#ตั้งสติกับอารมณ์นั้นประคองจิตไว้ในอารมณ์เดียวให้แน่วแน่อยู่ #ส่วนอารมณ์นี้เป็นหน้าที่ของอาตาปี 

#คือความเพียงเพ่งพิจารณาตามอาการของเวทนาทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก #สุข #ทุกข์ #อุเปกขา #อาการใดอาการหนึ่ง

 เช่น ทุกข์เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เป็นหน้าที่ของความเพียรเพ่งพิจารณา ดูจนกว่าจะรู้จริงนี้หนึ่ง จะเป็นเวทนานอกก็ตาม ในก็ตาม เป็นหน้าที่ของอาตาปี

#เวทนาทั้งหลายเหล่านั้นปรากฏอยู่ในที่แห่งใด
#จำจะต้องใช้ความเพียรเพ่งพิจารณาแผดเผาเร่าร้อนอยู่ในที่นั้น 

นี่เป็นวาระที่ ๑ ของความเพียรเพ่งพิจารณา

๒. #ให้ดูความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันมีอยู่ในปัจจุบัน 
ไม่ต้องสาวไปในที่อื่น ทำความเห็นว่า จะเกิดมาจากเหตุอะไรก็ตาม ให้กำหนดจดจ้องดูอยู่แต่ปัจจุบัน

๓. #ให้พิจารณาความเสื่อมไปของเวทนานั้น

๔. #ให้เพ่งดูความดับของเวทนานั้น

๕. #ทำความรู้ไว้ว่า

 #เวทนานี้มีแต่ความเกิดและความดับ 

ความทำลายถ่ายเทกันไปด้วยประการต่างๆ 

#หาเป็นแก่นสารไม่

#เมื่อใครทำได้ด้วยอาการเช่นนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

#ย่อมเป็นองค์มรรคสมังคีอยู่ในที่นั้น ถ้าจะย่นให้เป็นองค์มรรค ต้องย่นอย่างนี้ คือ

สัมปชัญญะความรู้ดีคอยประคองจิตอยู่ ทำความรู้ตัวอยู่ ไม่ปล่อยจิตของตนให้แล่นไปสู่อกุศล ทำจิตของตนให้เป็นปรกติอยู่ นี้เรียกว่า "ศีล"

สติคอยประสานจิตกับอารมณ์ไม่ให้คลาดเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่น นี้เรียกว่า "สมาธิ"

อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณาในอารมณ์นั้น ๆ ให้รู้แจ้ง เห็นจริง รู้ได้ทั้งความเกิดความดับ นี้เรียกว่า "ปัญญา"

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...