จุดเทียนไขไว้ตรงนั้น-ตรงนี้
หลวงพ่อเห็นตัวตะขาบมันแล่นผ่านหน้าไป
หลวงพ่อก็เอาเทียนไขมาส่องดู
เมื่อไม่เห็น หลวงพ่อก็เอาเทียนไขมาตั้งไว้ที่เดิม
เดินกลับไป-กลับมาอีก
พอระยะตี ๕ นี่แหละ เกิดรู้จักศีลขึ้นมา
*ศีล ๕-ศีล ๘-ศีล ๒๒๗ ที่เราถือกันมานั้น
เป็นศีลสมมติ เป็นศีลสังคม*
มันมีมาแล้ว เรื่องเหล่านี้มีมาก่อน
*ศีลที่พระพุทธเจ้าสอนจริง ๆ นั้น
ก็คือตัวปกติ ปกติกาย-ปกติวาจา-ปกติใจ*
**เมื่อกายเป็นปกติ-วาจาเป็นปกติ-ใจเป็นปกติ
อะไรปรากฏขึ้นมา ต้องรู้-ต้องเห็น-ต้องเข้าใจ
‘ศีล’ จึงเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
‘สมาธิ’ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง
‘ปัญญา’ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด**
หลวงพ่อก็เลยรู้อย่างนี้
โอ! ศีลที่เป็นเรื่องของการปกติกาย-ปกติวาจา-ปกติใจนี้
เมื่อกายเป็นปกติแล้ว มันอยากทำอะไร-เรารู้
เมื่อวาจาปกติแล้ว มันอยากพูดอะไร-เรารู้
เมื่อใจปกติแล้ว มันอยากคิดอะไร-เรารู้
*ความรู้-ความเห็น-ความเข้าใจนี่เอง
ท่านจึงว่า 'รู้แจ้ง-เห็นจริง'
รู้แล้วก็ต่างไปจากเก่า ล่วงจากภาวะเดิม*
ไม่ทำเหมือนแต่ก่อน
อดีตที่ผิดมาแล้ว แก้ไขไม่ได้
อนาคตที่ยังไม่มาถึง ก็ทำอะไรไม่ได้
แก้ไขได้เฉพาะปัจจุบันเท่านั้น
คิดเดี๋ยวนี้ แก้เดี๋ยวนี้
มันอยากพูดเดี๋ยวนี้-มันอยากทำเดี๋ยวนี้ แก้เดี๋ยวนี้
*เมื่อแก้ปัจจุบันได้แล้ว อดีต-อนาคตไม่สำคัญ*
มันสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่าปัจจุบัน
หลวงพ่อเลยรู้ว่า
ศีลมันเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
คือต้องกำจัดโทสะ-โมหะ-โลภะ
หรือกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน
กำจัดสิ่งชั่ว ๆ นี้ออกไปได้แล้ว ศีลจึงปรากฏ
อันนี้แหละกิเลสอย่างหยาบที่สุด
หลวงพ่อจึงว่า *'เรื่องโทสะ-โมหะ-โลภะ
เรื่องกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน
มันเป็นหญ้าปากคอก'
ถ้าเรากำจัดหญ้าปากคอกนี้ไม่ได้
แม้มีเงินมาก ๆ ก็ตาม
ย่อมไม่มีโอกาส ไม่มีเวลาที่จะรู้ธรรมะ
คำสอนของพระพุทธเจ้าจริง ๆ*
เมื่อรู้จักศีล ว่าเป็นอย่างนั้น-อย่างนี้แล้ว
หลวงพ่อก็มารู้จัก‘ศีลขันธ์-สมาธิขันธ์-ปัญญาขันธ์’
'ขันธ'์ แปลว่า 'รองรับ'
แปลว่า 'ทำลายสิ่งที่ชั่วร้ายออกไปให้หมด'
หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้
เมื่อเข้าใจอย่างนี้ดีแล้ว
ก็เลยมารู้จัก'อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา'
นั่นเป็นคำพูดของคนอื่น ไม่ใช่คำพูดของตนเอง
เมื่อเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ก็เลยเข้าใจว่า
สมถกรรมฐาน(กับ)วิปัสสนากรรมฐาน มันแยกกันที่ตรงนี้
เพราะแต่ก่อนก็เคยทำความสงบแบบนั้นมา
ต้องนั่งอยู่เฉย ๆ นั่นเป็นความสงบแบบไม่รู้
*ความสงบแบบหลวงพ่อพูดให้ฟังนี้ไม่ต้องนั่งสงบ
ทำไร่ก็ได้-ทำนาก็ได้ ซื้อ-ขายก็เป็น กินข้าวก็ได้
ทำอะไรก็เป็นหมด เป็นครู-เป็นนักเรียนก็ได้
เป็นทหาร-ตำรวจ เป็นรัฐมนตรีก็ได้
เพราะความสงบแบบนี้
ทำอะไรอยู่ มันก็ไม่เดือดร้อน*”
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
------------------------------------------------------------------------------------------------
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ อย่าหลงตน-อย่าลืมตัว ※
※ ※
※ อย่าหลงกาย-อย่าลืมใจ ※
※ ※
※ อย่าหลงชีวิต ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
รู้สึกตัว...รู้สึกกาย รู้สึกใจ
_/|\_ _/|\_ _/|\_
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น