ย้อนมาปรารภเรื่องกรรมฐานอีก หลวงปู่มั่นยืนยันว่ากรรมฐานสี่สิบห้องเป็นน้องอานาปานสติ อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลายอยู่แล้ว
#ศาสนาอื่น ๆ #นอกจากพุทธศาสนาแล้ว #ไม่ได้เอามาสั่งสอนให้หัดปฏิบัติกันเลย
เพราะกรรมฐานอันนี้บริบูรณ์พร้อมทั้งสติปัฏฐาน ๔ ไปในตัวด้วย และเป็นแม่เหล็กที่มีกำลังดึงกรรมฐานอื่น ๆ ให้เข้ามาเป็นเมืองขึ้นของตัวได้ เช่น
พระมหาอนันตคุณของพุทโธ ธัมโม สังโฆ สีโล จาโค กายคตา แก่ เจ็บ ตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เป็นต้น #ย่อมมีอยู่จริงอยู่พร้อมทุกลมออกเข้าแล้ว
แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ย่อมจริง ย่อมมีอยู่ทุกลมออกเขาแล้ว ไม่ต้องไปค้น ไปหา ไปจด ไปจำ ไปบ่น ไปท่องทางอื่นก็ได้ ถ้าไม่หลงลมเข้าลมออกแล้ว โมหะ อวิชชา วัฏจักร มันจะรวมพลมาจากโลกหน่วยไหนล่ะ หลงลมออกเข้าก็หลงหนังเหมือนกัน ถ้าไม่หลงหนังก็ไม่หลงลมออกเข้า โดยนัยเดียวกัน ดูโลกก็ดูทุกข์ ดูทุกข์ก็ดูโลก ดูสังขารก็ดูทุกข์ ดูทุกข์ก็ดูสังขาร พ้นโลกก็พ้นทุกข์ พ้นทุกข์ก็พ้นโลก พ้นสังขารก็พ้นทุกข์ พ้นทุกข์ก็พ้นสังขาร มีความหมายอันเดียวกันทั้งนั้น ไม่ผิด
รู้ลมออกเข้าในปัจจุบัน รู้ลมออกเข้าในอดีต รู้ลมออกเข้าในอนาคต รู้ผู้รู้ในปัจจุบัน รู้ผู้รู้ในอดีต รู้ผู้รู้ในอนาคต แล้วไม่ติดข้องอยู่ในผู้รู้ทั้งสามกาล ผู้นั้นก็ดับรอบแล้วในโลกทั้งสามด้วยในตัว อวิชชาและสังขารเป็นต้นก็ดับไป ณ ที่นั้นเอง ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลงก็ดับไป ณ ที่นั้นเอง
กองทัพธรรมมีกำลังสมดุลด้วยสติปัญญา กองทัพอวิชชา ตัณหา อุปาทานเป็นต้นย่อมแตกสลาย ไม่ต้องพูดไปหลายเรื่องหลายแบบก็ได้ พระอาทิตย์ส่องแสงจ้า มืดนั้นนาไม่ได้สั่งลา หายวับไป ณ ที่นั้น...
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
"อานาปานสติ พระธรรมวินัย"
บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติหายใจเข้า เป็นผู้มีสติหายใจออก คือภิกษุนั้นครั้นนั่งอย่างนี้และดำรงสติไว้อย่างนี้ เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ทำสติ.
..................................................................
เพราะพระธรรมวินัยนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นศาสดาในพระบาลีว่า
ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว #ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยล่วงเราไป.๖-
____________________________
๖- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๔๑
พึงทราบความแห่งบททั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง #เพราะภิกษุผู้ยังอานาปานสติสมาธิให้เกิดโดยอาการทั้งปวงมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น มิได้มีในศาสนาอื่น ฉะนั้น ในบทนั้นๆ ท่านจึงกำหนดความแน่นอนลงไปว่า อิมสฺส แห่งศาสนานี้ และ อิมสฺมึ ในศาสนานี้.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=362&p=4
จริงอยู่ อิธ ศัพท์ในบทนี้ นี้แสดงถึงคำสอนอันเป็นนิสัยของบุคคลผู้ยังอานาปานสติสมาธิ มีประการทั้งปวงให้เกิด และ #ปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นของศาสนาอื่น.
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ
#ลัทธิของศาสนาอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง.
____________________________
๑- ม. มู. ๑๒/๑๕๔
บทว่า อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นี้แสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปานสติสมาธิของภิกษุนั้น. จิตของภิกษุนั้นคุ้นในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะพอกพูนอารมณ์อันเป็นอานาปานสติสมาธิ จิตย่อมแล่นไปนอกทางทีเดียว ดุจรถเทียมด้วยโคโกง เพราะฉะนั้น เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโค ประสงค์จะฝึกลูกโคโกงที่ดื่มน้ำนมทั้งหมดของแม่โคนมโกงให้เจริญ จึงนำออกจากแม่โคนม ฝังเสาใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง เอาเชือกผูกไว้ที่เสานั้น ทีนั้นลูกโคของเขาไม่อาจดิ้นจากที่นั้นๆ หนีไปได้ จึงหมอบนอนนิ่งอยู่กับเสานั้นเอง ฉันใด
แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน #ประสงค์จะฝึกจิตที่ประทุษร้ายให้เจริญ #ด้วยการดื่มรสมีรูปารมณ์เป็นต้นตลอดกาลนาน #จึงนำออกจากอารมณ์มีรูปเป็นต้น แล้วเข้าไปยังป่าก็ดี โคนไม้ก็ดี เรือนว่างก็ดี ผูกด้วยเชือกคือสติ ที่เสาคือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น จิตของภิกษุนั้นแม้ดิ้นรนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่สะสมไว้ในกาลก่อน ก็ไม่สามารถจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ จึงนั่งสงบ นอนนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งอุปจารและอัปปนา.
ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า๒-
#นรชนพึงผูกลูกโคที่ควรฝึกไว้ที่เสานี้ ฉันใด
#ภิกษุพึงผูกจิตของตนไว้ในอารมณ์ #ด้วยสติให้มั่นคง
ฉันนั้น.
____________________________
๒- วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๕๕
เสนาสนะนั้นของภิกษุนั้นสมควรแก่ภาวนา ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นปทัฏฐานแห่งสุขวิหารธรรมในปัจจุบันของการบรรลุคุณวิเศษ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง
#เป็นยอดในประเภทของกรรมฐานนี้ อันพระโยคาวจรไม่สละท้ายบ้าน อันวุ่นวายไปด้วยเสียงหญิง บุรุษ ช้างและม้าเป็นต้น ทำได้ไม่ง่ายนักเพื่อเจริญ เพราะฌานมีเสียงเสียบแทง.
ส่วนพระโยคาวจรกำหนดถือเอากรรมฐานนี้ในป่ามิใช่หมู่บ้าน ยังอานาปานสติจตุตถฌานให้เกิด #ทำฌานนั้นให้เป็นบาท #พิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นการทำได้ง่ายเพื่อบรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอ้างถึงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้.
พระเถระก็เหมือนอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจอาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่.
จริงอยู่ อาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่นั้นเห็นพื้นที่สร้างนครแล้วกำหนดไว้ด้วยดี แนะนำว่า พวกท่านจงสร้างนคร ณ พื้นที่นี้เถิด เมื่อนครสำเร็จลงด้วยดี ย่อมได้สักการะใหญ่ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงกำหนดเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจร แล้วทรงแนะนำว่าควรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นี้ แต่นั้นเมื่อพระโยคาวจรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นั้น บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงได้รักสักการะใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ ดังนี้.
อนึ่ง #ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่าเป็นเช่นกับเสือเหลือง.
พึงทราบว่า เหมือนอย่างพญาเสือเหลืองซุ่มอาศัยหญ้ารกชัฏ ป่ารกชัฏ ภูเขารกชัฏ ในป่าจับเนื้อมีควายป่า กวาง สุกรเป็นต้นฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบกรรมฐานในป่าเป็นต้น ถือเอาโสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคและอรหัตมรรคและอริยผลทั้งหลายตามลำดับ.
ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า๓-
ธรรมดาเสือเหลืองซุ่มจับเนื้อทั้งหลาย ฉันใด
#พระพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน #ประกอบความเพียร
เจริญวิปัสสนาเข้าไปสู่ป่า ย่อมถือเอาผลอันสูงสุด.
____________________________
๓- วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๕๖
ด้วยเหตุนั้น พระผุ้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะในป่าอันเป็นพื้นที่ประกอบความเพียรอย่างไวจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต อยู่ป่า คือ #อยู่ป่าอันเป็นความสุขเกิดแต่ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า รุกฺขมูลคโต อยุ่โคนไม้ #คืออยู่ใกล้ต้นไม้.
บทว่า สุญฺญาคารคโต อยู่เรือนว่าง #คืออยู่โอกาสสงัดว่างเปล่า.
อนึ่ง ในบทนี้แม้อยู่เสนาสนะ ๗ อย่างที่เหลือเว้นป่าและโคนไม้ก็ควรกล่าวว่า สุญฺญาคารคโต อยู่เรือนว่างได้.
จริงอยู่ เสนาสนะมี ๙ อย่าง.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๔- ภิกษุนั้นเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า ที่แจ้ง กองฟาง.
____________________________
๔- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๕๙๙
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแนะนำเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปานสติกรรมฐาน อันเกื้อกูลด้วย ๓ ฤดูและเกื้อกูลด้วยธาตุจริยาแก่ภิกษุนั้น แล้วเมื่อจะทรงแนะนำถึงอิริยาบถอันสงบอันเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และไม่ฟุ้งซ่านจึงตรัสว่า นิสีทติ นั่ง ครั้นแล้วเมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นนั่งได้มั่นคง ความที่ลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นไปปกติ๕- และ #อุบายกำหนดถือเอาอารมณ์ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา คู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ).
____________________________
๕- วิสุทฺธิมคฺค. ๒/๕๘
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกํ คือ นั่งพับขาโดยรอบ.
บทว่า อาภุชิตฺวา คู้ คือพับ.
บทว่า อุชํ กายํ ปณิธาย ตั้งกายตรง คือตั้งสรีระเบื้องบนให้ตรง ให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อนจดกัน เพราะเมื่อนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ เอ็นจะไม่น้อมลง เวทนาที่เกิดขึ้นทุกๆ ขณะเพราะหนัง เนื้อและเอ็นน้อมลงเป็นเหตุจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น #เมื่อเวทนาไม่เกิด #จิตก็มีอารมณ์เดียว #กรรมฐานไม่ตก #ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงาม.
บทว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า คือ ดำรงสติเฉพาะกรรมฐาน.
บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติหายใจเข้า เป็นผู้มีสติหายใจออก คือภิกษุนั้นครั้นนั่งอย่างนี้และดำรงสติไว้อย่างนี้ เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
ท่านอธิบายว่า #เป็นผู้ทำสติ.
คลิกเพื่ออ่านทั้งหมด
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=362&p=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น