05 มกราคม 2564

กรรมฐานมี ๒ อย่างคือรูปกรรมฐานและอรูปกรรมฐาน.

ในกรรมฐานทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐาน ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการ

#มนสิการโดยสังเขปบ้าง ด้วยสามารถแห่งการ

#มนสิการโดยพิสดารบ้าง ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธาตุเป็นต้นอย่างนั้นบ้าง

#แต่เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสด้วยสามารถ

แห่ง #ผัสสะบ้าง ด้วยสามารถแห่ง #เวทนาบ้าง ด้วย

สามารถแห่ง #จิตบ้าง. เพราะว่า พระโยคาวจรบาง

รูปเมื่อระลึกถึงอารมณ์ที่เข้าสู่คลอง

#ผัสสะมีจิตและเจตสิกตกไปครั้งแรกในอารมณ์นั้น ถูกต้องอารมณ์นั้นอยู่ก็จะปรากฏชัด.

สำหรับพระโยคาวจรบางรูป​ #เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นเกิดขึ้นจะปรากฏชัด

 (แต่) สำหรับบางรูป #วิญญาณที่รู้อารมณ์นั้นเกิดขึ้นจะปรากฏชัด เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอรูปกรรมฐานตามที่ปรากฏโดยอัธยาศัยของ

บุคคลนั้นๆ ไว้ #๓อย่างโดยมีผัสสะเป็นต้นเป็นประธาน.

               ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น ผัสสะปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนดอารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ นั่นแหละว่า​

#ไม่ใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงเวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับผัสสะนั้น

ถึง #สัญญาที่จำอารมณ์นั้นอยู่

ถึง​ #เจตนาที่คิดถึงอารมณ์นั้นอยู่

ถึง #วิญญาณที่รู้ชัดซึ่งอารมณ์นั้นอยู่ก็จะเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น.

#เวทนาปรากฏแก่ผู้ใดแม้ผู้นั้นจะกำหนดอารมณ์มีผัสสะเป็นที่๕เหมือนกันว่า

#ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงสัมผัสที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่จำได้อยู่ ถึงเจตนาที่นึกคิดอยู่ ถึงสัญญาที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น. วิญญาณปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นก็จะกำหนดอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกับว่า ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น แม้เวทนาที่เสวยอารมณ์อยู่ แม้สัญญาที่จำได้อยู่ แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้น.

               #พระโยคาวจรนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้อาศัยอะไรอยู่ดังนี้ จะรู้ชัดว่าอาศัยวัตถุอยู่. กรชกาย ชื่อว่าวัตถุ.

               คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑๑- ก็แลวิญญาณของเรานี้อิงอาศัยอยู่ในกรชกายนี้ เนื่องแล้วในกรชกายนี้ ทรงหมายเอากรชกายใด กรชกายนั้นโดยเนื้อความ ได้แก่ภูต และอุปทายรูปทั้งหลาย

เธอเห็นเป็นเพียงนามกับรูปเท่านั้นว่า

บรรดา ๒ อย่างนี้ วัตถุเป็นรูป ธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ เป็นนาม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในสองอย่างนี้ รูปได้แก่รูปขันธ์ นามได้แก่ขันธ์ ๔ ที่ไม่ใช่รูป ดังนั้นจึงรวมเป็นเพียงขันธ์ ๕.

               แท้จริง #เบญจขันธ์ที่จะพ้นจากนามรูป
 #หรือนามรูปที่จะพ้นจากเบญจขันธ์ไปเป็นไม่มี. เธอเมื่อใคร่ครวญอยู่ว่าเบญจขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็เห็นว่ามีอวิชชาเป็นเหตุ แต่นั้นจะยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยสามารถแห่งนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า นามรูปนี้เป็นทั้งปัจจัย เป็นทั้งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอย่างอื่น มีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น

#แล้วท่องเที่ยวพิจารณาตามลำดับวิปัสสนา

ว่า #อนิจจัง #ทุกขัง #อนัตตา ดังนี้.

               เธอจำนงหวังปฏิเวธ (การตรัสรู้) อยู่ว่า (เราจะตรัสรู้) ในวันนี้ๆ ในสมัยเช่นนั้น ได้ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย โภชนะเป็นที่สบายหรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว

#นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่านั้นยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.

อรรถกถา​ #ปฐมเวทนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ :-

               บทว่า สมาหิโต ความว่า #เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น

ด้วยสมาธิ แยกประเภทเป็น #อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. ด้วยบทว่า สมาหิโต นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการประกอบเนืองๆ ซึ่งสมถภาวนา.

               บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้ชัดอยู่โดยชอบด้วยสัมปชัญญะ ๔ ประการมีสาตถกสัมปชัญญะเป็นต้น. ด้วยบทว่า สมฺปชาโน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการประกอบเนืองๆ ซึ่งวิปัสสนา.

               บทว่า สโต ความว่า #เป็นผู้ตั้งสติ. ด้วยบทว่า สโต นั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา โดยนัยแห่งสมถะและวิปัสสนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนานุโยคนั้น. 
               บทว่า เวทนา จ ปชานาติ ความว่า พุทธสาวก เมื่อกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ในส่วนเบื้องต้นโดยจำแนกตามความเป็นจริงว่า

#เวทนาเหล่านี้ เวทนามีเท่านี้และโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นว่า เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว

#เจริญวิปัสสนา ย่อมรู้ชัดด้วยการแทงตลอด ด้วยการกำหนดรู้ ด้วยอริยมรรค.

               บทว่า เวทนาญฺจ สมฺภวํ ได้แก่ สมุทยสัจ. 
               บทว่า ยตฺถ เจตา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เวทนาย่อมดับไปในที่ใด ที่นั้นเป็นนิโรธสัจ. 
               บทว่า ขยคามินํ เชื่อมความว่า

 #รู้อริยมรรคที่เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาด้วย.

               บทว่า เวทนานํ ขยา ความว่า เพราะดับโดยไม่ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอริยมรรคที่แทงตลอด สัจจะทั้ง ๔ ดังนี้.

               บทว่า นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต ความว่า หมดตัณหา คือละตัณหาได้ เป็นผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปรินิพพาน และขันธปรินิพพาน.

               อรรถกถาปฐมเวทนาสูตรที่ ๓

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...