06 มกราคม 2564

#ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์คือพระนิพพานต้องอ่าน

โลกุตรภูมิ คือ ภูมิหรือชั้นที่พ้นจากภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หมายถึง ระดับจิตของพระอริยบุคคลที่พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาดตามลำดับและรวมถึงอมตมหานิพพานด้วย

1. #ภูมิของพระโสดาบัน เป็นภูมิลำดับแรกในโลกุตรภูมิ เป็นภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ถึงกระแสพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน มีคุณวิเศษสามารถละสังโยชน์ได้ 3 อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส จะกลับมาเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ

2. #ภูมิของพระสกิทาคามี เป็นโลกุตรภูมิลำดับที่ 2 เป็นภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ที่จะกลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว ผู้ที่จะเข้าถึงสภาวะของความเป็นพระสกิทาคามี จะต้องผ่านความเป็นพระโสดาบันก่อน พระสกิทาคามี มีคุณวิเศษสามารถละสังโยชน์ที่พระโสดาบันละได้ และสามารถขจัดสังโยชน์เพิ่มอีก 2 ตัว คือ กามราคะ และปฏิฆะ ให้เบาบางลงได้อีกด้วย

3. #ภูมิของพระอนาคามี เป็นโลกุตรภูมิลำดับที่ 3 ของโลกุตรภูมิ ซึ่งจะต้องเจริญภาวนาผ่านความเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามีมาตามลำดับ จึงจะเข้าถึงภาวะแห่งความเป็นพระอนาคามี พระอนาคามีมีคุณวิเศษสามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 5 อย่าง ซึ่งละสังโยชน์ต่อจากพระสกิทาคามีอีก 2 อย่าง คือ กามราคะ และปฏิฆะ ผู้ที่เป็นพระอนาคามี เมื่อละโลกแล้ว จะบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสและบรรลุพระอรหันต์บนนั้น ไม่กลับมาเกิดอีก

4. #ภูมิของพระอรหันต์ เป็นโลกุตรภูมิลำดับสุดท้าย อันเป็นภูมิขั้นสูงสุดของโลกุตรภูมิ เป็นเป้าหมายอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ การจะเป็นพระอรหันต์จะต้องเจริญภาวนาผ่านความเป็นอริยบุคคลทั้ง 3 ขั้นมาตามลำดับ แล้วจึงจะเข้าถึงภาวะแห่งความเป็นพระอรหันต์ได้ คุณวิเศษของพระอรหันต์ คือ นอกจากละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 5 ประการแล้ว ในขั้นนี้สามารถละสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เมื่อละกิเลสได้หมดแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ อันเป็นการทำกิจของการเกิดเป็นมนุษย์ได้สมบูรณ์แล้ว เป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อย่างเต็มเปี่ยม เป็นผู้ที่ควรแก่การบูชา และได้ชื่อว่าเป็นทักขิไณยบุคคลโดยแท้

ตายแล้วไปไหนชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร อารมณ์ที่มาปรากฏก่อนตาย มี 3 ประการ สรรพสัตว์ย่อมตายไปเพราะเหตุแห่งความตาย 4 ประการ เมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น อารมณ์ 3 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏแก่สัตว์ทางทวาร 6 ใน ทวารใดทวารหนึ่ง ได้โดยอำนาจของกรรมทั้งสองคือ อุปปัชชเวทนียกรรมและอปราปรเวทนียกรรม (ในภาคปฏิบัติหมายถึงดวงบุญหรือบาปจะมาฉายภาพให้เห็นการกระทำของตน และอุปกรณ์ประกอบกรรม หรือภพที่จะไปเกิดใหม่) ตามสมควร คือ

1. กรรมอารมณ์ 2. กรรมนิมิตอารมณ์

3. คตินิมิตอารมณ์

1. กรรมอารมณ์ หมายถึง เจตนาที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่เป็นสภาวธรรมล้วนๆ ที่มาปรากฏทางความรู้สึกนึกคิดที่ตนเคยประสบมาแล้วในอดีตกี่ภพกี่ชาติก็ตาม เช่น ความรู้สึกดีใจปีติ เพราะเคยไหว้เจดีย์ ความศรัทธาในพระสงฆ์องค์โน้น หรือ ความรู้สึกโกรธเกลียด รู้สึกกำหนัดยินดีในแก้วแหวนเงินทองในบุคคล ที่เคยเกิดแล้วขณะทำกรรมในอดีต จะมาปรากฏอีกครั้งในขณะนั้นตอนใกล้ตายเหมือนกับเพิ่งจะเกิดใหม่ กรรมใดจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ตามชนิดใดชนิดหนึ่งได้โอกาสจักให้ผลปฏิสนธิในภพใหม่ กรรมที่ได้โอกาสนั้นย่อมปรากฏขึ้นโดยอำนาจแห่งสภาวะของกรรม และมาปรากฏทางใจอย่างเดียว สรุปคือสภาวะที่ทำให้เศร้าหมองหรือผ่องใสนั่นเอง กรรมอารมณ์นี้ บางตำราว่าหมายถึง ความคิด คำพูด หรือการกระทำทางกายของตน ที่เคยทำมาในอดีตมาฉายภาพให้เห็นทางใจตอนใกล้ตาย

2. กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง อารมณ์กรรมที่เป็นประธาน (อุปลทฺธปุพฺพํ) คือ อารมณ์ 6 มีรูปเสียงเป็นต้น ที่เคยได้เห็นได้ยินเป็นต้น รวมทั้งรูปนาม บัญญัติ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำของตน และวัตถุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นบริวารของกรรมที่เป็นประธานนั้นที่ตนเคยใช้ประกอบในการกระทำกรรมนั้นๆ เช่น เคยใช้ประกอบในการกระทำกรรมนั้นๆ เช่น ต้องการถวายจีวร จีวรเป็นอารมณ์หลัก ส่วนอุปกรณ์ที่ประกอบการถวายจีวรให้สำเร็จ เช่น พระภิกษุ ไทยธรรมอื่นๆ เป็นบริวารกรรมที่จะให้การถวายจีวรสำเร็จ กรรมนิมิตนี้จะมาปรากฏทางทวารใดทวารหนึ่งในทวารทั้ง 6 ได้ดังนี้

ถ้าเป็นอดีตกรรมนิมิต ก็เป็นอดีตอารมณ์ ย่อมเกิดในมโนทวารอย่างเดียว ถ้าเป็นปัจจุบันกรรมนิมิต ก็เป็นปัจจุบันอารมณ์ ย่อมเกิดได้ทั้ง 6 ทวารตามสมควร : 1. ฝ่ายกุศลกรรม เช่น ได้เห็นพระเจดีย์ ได้ยินเสียงพระแสดงธรรม ได้กลิ่นธูปเทียนหอมที่บูชาพระรัตนตรัย ได้ลิ้มรสอาหารที่ตนเคยถวายพระ ได้สัมผัสผ้านุ่มๆ เหมือนจีวรที่เคยถวายพระ เป็นต้น, 2. ฝ่ายอกุศลกรรม เช่น ได้เห็นสัตว์ที่ตนฆ่า ได้ยินเสียงสัตว์ที่ตนฆ่าร้อง ได้กลิ่นคาวเลือด รสสุราที่เคยดื่ม มาปรากฏทางลิ้นรู้สึกเปรี้ยวปากอย่างดื่มขึ้นมาทันทีหรือรู้สึกเหนื่อยกายเหมือนตอนทำอกุศลกรรมนั้น หรือ ความรู้สึกนึกคิดขณะนั้น เช่น เกิดความโกรธ ความกำหนัดยินดีในขณะนั้น เป็นต้น

3. คตินิมิตอารมณ์ หมายถึง อารมณ์ 6 ที่จะได้รับในภพหน้าที่จะเกิด มี 2 ประการ

ก. อุปลภิตัพพคตินิมิตอารมณ์ คือ คตินิมิตตารมณ์ในภพที่จะเกิดโดยตรง เช่น จะเกิดเป็นมนุษย์ ก็จักเห็นครรภ์มารดา จะเกิดเป็นเทวดา จักได้เห็นเทพบุตรเทพธิดาหรือวิมาน จะเกิดเป็นสัตว์นรก จักได้เห็นเปลวไฟ เห็นนายนิรยบาล จะเกิดเป็นเปรต จักได้เห็นหุบเขาที่มีสภาพมืดมนเป็นต้น

ข. อุปโภคคตินิมิตอารมณ์ คือ เครื่องใช้สอยในภพนั้นๆ เช่น ถ้าจะเกิดเป็นเทวดา ก็จะเห็นตนเองได้นั่งอยู่บนเทวรถ กำลังเสวยสุธาโภชน์ร่วมกับเหล่าเทพ ถ้าจะไปเกิดเป็นมนุษย์ เห็นตนกำลังสนทนาปราศรัยกับคน ประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่งบนมนุษย์โลก รู้สึกว่าตนอยู่ในครรภ์ ถ้าจะไปเป็นสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเห็นอาหารสัตว์ชนิดนั้นหรือกำลังเล่นอยู่กับสัตว์เหล่านั้น ถ้าจะเป็นสัตว์นรก จะรู้สึกว่าตนกำลังถูกจองจำ ทุบตีด้วยอาวุธ ถูกสุนัขนรกไล่กัดเป็นต้น

ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลักธรรมสำคัญที่นำไปสู่เป้าหมายสูงสุด โครงสร้างองค์รวมและลักษณะคำสอนในพระไตรปิฎก ศึกษาความสำคัญ ความหมาย และวิธีปฏิบัติในเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษา หัวข้อธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง หลักการ วิธีการปฏิบัติ และมารยาทพื้นฐานต่อพระรัตนตรัย

#เผยแพร่ธรรมะให้เพื่อนมนุษย์ร่วมกัน
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ....
การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...